SlideShare a Scribd company logo
1 of 28
Download to read offline
บทที่ 5
ประวัติการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
แผนการสอนประจาบท
1. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้สามารถบอกประวัติความเป็นมาของการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศ
ไทยได้
2. เพื่อให้สามารถอธิบายการจัดการศึกษาปฐมวัยของไทยในแต่ละยุคได้
3. เพื่อให้สามารถอธิบายสาระสาคัญของการเปลี่ยนแปลงการศึกษาปฐมวัยได้
4. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษา
ปฐมวัยในประเทศไทยได้
2. สาระการเรียนรู้
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน
1.1 สมัยกรุงสุโขทัย
1.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา
1.3 สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
1.4 สมัยได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก
2. การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุคมีระบบโรงเรียน
2.1 การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2.2 การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2.3 รูปแบบการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
2.4 ปัจจัยสาคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. กิจกรรมการเรียนรู้
1. ศึกษาเอกสารรายวิชาการศึกษาปฐมวัย
2. นาเสนอผลการศึกษาตามหัวข้อที่กาหนด
3. อภิปราย สรุป ซักถาม จากสไลด์
4. มอบหมายงานให้ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ทาให้การจัดการศึกษาปฐมวัยในแต่ละ
ยุคเกิดการเปลี่ยนแปลง
5. ทดสอบหลังเรียน (แบบทดสอบ)
106
4. สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. สไลด์ประกอบการสอน (Power point)
3. เว็บไซต์อาจารย์ Internet
4. หนังสือ ตารา วารสาร งานวิจัย
5. การประเมินผล
1. การสรุปสาระสาคัญ การแสดงความคิดเห็นและอภิปราย
2. นาเสนอรายงานการศึกษาค้นคว้า
3. ผลการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง
การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
4. การทดสอบ และแบบฝึกหัดท้ายบท
107
บทที่ 5
ประวัติความเป็นมาของการศึกษาปฐมวัยในประเทศ
ประเทศไทยมีการพัฒนาการศึกษามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจัย โดยการจัดการศึกษา
ในแต่ละยุคสมัยมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันในรูปแบบที่จัด การศึกษาปฐมวัย
ในยุคแรกหลักการจัดการศึกษายังไม่มีระบบที่ชัดเจน และยังจัดการเรียนการสอนมีอยู่ใน
วงจากัดในระดับครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือในชุมชนเล็ก ๆ การจัดการศึกษาที่เป็นระบบ
มากที่สุดคือ จัดการเรียนการสอนในวัดโดยมีพระสงฆ์เป็นครูผู้สอน เป็นต้น ในระยะหลัง
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง การจัดการศึกษาได้พัฒนาระบบและรูปแบบในการจัด
การศึกษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจนถึงยุคปัจจุบัน เพื่อให้ความเข้าใจถึงประวัติความเป็นมาใน
การจัดการศึกษาปฐมวัย ในบทนี้จึงขอกล่าวถึงรายละเอียดตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน
1.1 สมัยกรุงสุโขทัย
1.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา
1.3 สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
1.4 สมัยได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก
2. การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุคมีระบบโรงเรียน
2.1 การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2.2 การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2.3 รูปแบบการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
2.4 ปัจจัยสาคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน
ราศี ทองสวัสดิ์ (2539 : 69 – 71) ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมี
ระบบโรงเรียนไว้ ดังนี้
1. การศึกษาปฐมวัยในสมัยกรุงสุโขทัย
เมื่อพ่อขุนรามคาแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 1826 พระองค์ทรง
นาออกเผยแพร่สู่บรรดาคนไทยทั่วไปในแถบลุ่มแม่น้ายม แม่น้าเจ้าพระยา ตลอดจนลงไป
ทางใต้ได้ยอมรับและนาไปสั่งสอนถ่ายทอดกันต่อไปอย่างแพร่หลายทั้งยังทรงสั่งสอน
พระราชวงศ์ ข้าราชบริพาร ตลอดจนราษฎรให้หัดอ่าน หัดเขียนหนังสือไทย การศึกษาใน
108
สมัยนี้ เป็นการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ (Informal Education) ทั้งนี้เนื่องจากไม่มี
หลักเกณฑ์ที่แน่นอน ไม่มีการบังคับแต่เป็นการสอนให้เปล่า ไม่มีค่าจ้างหรือค่าเล่าเรียน
และการเรียนเป็นไปตามความสมัครใจของผู้เรียน
สถานศึกษา ได้แก่ บ้าน วัด สานักปราชญ์ราชบัณฑิต และราชสานัก
ครูผู้สอน ได้แก่ บิดามารดา พระ พราหมณ์ และราชบัณฑิต
วิชาที่เรียนการศึกษาในสมัยกรุงสุโขทัยนี้อาจกล่าวได้ว่ามีการจัดการศึกษาโดย
ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาต่าง ๆ ดังนี้
1. มีการสอนจริยศึกษา อันได้แก่ การสอนให้เด็กได้ปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม
จรรยา และปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา
2. มีการสอนพุทธิศึกษา ได้แก่ การสอนอ่านเขียน ภาษาไทย ภาษาบาลี และวิชา
ความรู้เบื้องต้นอย่างอื่น
3. มีการสอนพลศึกษา ในสมัยนี้ผู้ชายทุกคนต้องเป็นทหาร ดังนั้นจึงจาเป็นต้อง
ฝึกหัดวิชาสาหรับป้องกันตัว และไว้ใช้ในเวลาเกิดสงคราม
4. มีการสอนหัตถศึกษา ส่วนใหญ่ศึกษาภายในบ้าน โดยมีบิดามารดาที่มีความรู้
ทางอาชีพได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่บุตรหลานของตน ส่วนเพศหญิงก็จะได้รับการอบรม
เกี่ยวกับกิจการบ้านเรือน การฝีมือ การประกอบอาหาร การทอผ้าหรือการประกอบอาชีพ
ของครอบครัว
จากการศึกษาประวัติของการศึกษาในสมัยสุโขทัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในสมัยนี้
เป็นการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ และไม่ได้ให้ความสาคัญกับการจัดการในระดับปฐมวัย
ศึกษา
2. การศึกษาปฐมวัยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยาในระยะแรกคงดาเนินไปตามแบบเดิมเช่นเดียวกับ
สมัยกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส
ดังนั้นสมัยนี้การศึกษาของไทยจึงมีสานักสอนศาสนา เพื่ออบรมเด็กไทยให้เป็นสามเณรใน
คริสต์ศาสนา และขณะเดียวกันก็มีการสอนรายวิชาอื่น ๆ นอกจากศาสนาด้วย อาทิ ภาษา
ฝรั่งเศส ดาราศาสตร์ การต่อเรือ การก่อสร้าง เป็นต้น
การศึกษาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากทั้งด้านจริยศึกษา
พุทธิศึกษาและพลศึกษา รวมทั้งมีหนังสือแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก คือ จินดามณี ซึ่ง
บรรจุเนื้อหาวิชาภาษาไทยตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาขึ้นไปจนถึงขั้นอุดมศึกษาและการศึกษา
109
เริ่มแพร่หลายสู่บุคคลธรรมดาสามัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาใน
ระดับปฐมวัยที่จัดให้แก่เด็กในวัย 3 – 7 ปี ก็ยังไม่มีปรากฏ
3. การศึกษาปฐมวัยในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(สมัยรัชกาล ที่ 1 – รัชกาลที่ 4)
หลังจากเหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ปกติแล้ว การศึกษาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
เข้ารูปเดิมสมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนเนื่องจากทรงเห็นว่าการศึกษาวิชา
หนังสือนั้นราษฎรทั่วไปได้อาศัยวัดเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนแล้ว แต่วิชาชีพอื่น ๆ ยังไม่มีที่จะ
ศึกษาเล่าเรียนกันได้ จึงโปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญในวิชาแขนงต่าง
ๆ ได้จารึกวิทยาการลงในแผ่นศิลา วิชาที่นามาจารึกไว้ส่วนใหญ่เป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งแบ่ง
ออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดอักษรศาสตร์ หมวดแพทยศาสตร์ และหมวดวิชาช่างฝีมือ
นอกจากนี้ยังได้ดัดแปลงหนังสือจินดามณีเสียใหม่เพื่อได้ใช้ศึกษาเล่าเรียนได้ง่ายขึ้น
หนังสือเรียนดังกล่าว ได้แก่ หนังสือประถม ก. กา และหนังสือประถมมาลา หนังสือทั้งสอง
เล่มนี้ใช้เป็นแบบเรียนจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเรียน
ภาษาอังกฤษ วิชาแพทย์ วิชาเครื่องจักรกล วิชาต่อเรือกาปั่น วิชาเดินเรือกับพวกหมอสอน
ศาสนา นอกจากนั้นยังได้มีการพิมพ์หนังสือไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจึงทาให้การศึกษา
แพร่หลายไปอยู่ในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางขึ้น
การศึกษาของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมาจนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการศึกษาชนิดไม่มีแบบแผน ไม่มีโรงเรียนสาหรับเรียนหนังสือ
โดยเฉพาะ ไม่มีหลักสูตรว่าจะเรียนวิชาอะไรบ้าง ไม่มีการกาหนดเวลาเรียนและไม่มี
การวัดผลการศึกษา เด็กชายที่อายุตั้งแต่ 7 – 8 ขวบขึ้นไป บิดามารดาจะพาไปฝากไว้กับ
พระสงฆ์ ส่วนเด็กหญิงจะเรียนวิชาการบ้านการเรือนอันจาเป็นแก่กุลสตรี โดยศึกษาที่บ้าน
ของตนหรือบิดามารดานาไปฝากไว้ที่ราชสานัก หรือในวังเจ้านาย หรือบ้านข้าราชการ
ดังนั้นจะเห็นว่าการศึกษาของไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมายังไม่ได้ให้ความสาคัญของ
การศึกษาระดับปฐมวัย แต่อย่างไรก็ตามจากประวัติการศึกษาอาจจะกล่าวได้ว่า การให้
การศึกษาในระดับปฐมวัยในระยะก่อนได้รับอิทธิพลทางตะวันตกนั้น มีลักษณะที่สาคัญ
ดังนี้
1. การให้การศึกษาระดับปฐมวัยสาหรับเชื้อพระวงศ์ เป็นการจัดการศึกษาให้แก่
พระโอรส พระธิดา และเชื้อพระวงศ์ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาในพระบรมมหาราชวัง โดย
อาลักษณ์ หรือราชบัณฑิตมาสอน
110
2. การให้การศึกษาปฐมวัยสาหรับบุคคลที่บิดามารดามีฐานะดี บิดามารดาก็จะ
จ้างให้ครูมาสอนที่บ้าน หรือเรียนที่บ้าน โดยมีบิดามารดาเป็นผู้สอนตามความสามารถ
หรือตามอาชีพของตน
3. การให้การศึกษาระดับปฐมวัยสาหรับบุคคลทั่วไป การให้การศึกษาแก่เด็กที่
บิดามารดามีฐานะยากจนที่จาเป็นต้องออกไปประกอบอาชีพ หรือไม่มีความสามารถใน
การอบรมสั่งสอน ก็จะนาเด็กชายไปฝากไว้ที่วัด เพื่อให้เรียนหนังสือและศึกษาพระธรรม
วินัย และเมื่ออายุ 11 ขวบขึ้นไปก็จะบวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาเล่าเรียนอยู่ในวัด ส่วน
เด็กหญิงส่วนใหญ่จะไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือนอกจากบิดามารดาพาไปฝากไว้ในวัง หรือ
บ้านเจ้านาย เพื่อฝึกฝนการเป็นกุลสตรี และบางครอบครัวบิดามารดาก็จะสอนหรือ
ถ่ายทอดงานอาชีพของครอบครัวให้ฝึกหัดภายในบ้าน
4. การศึกษาปฐมวัยของประเทศไทยระยะหลังได้รับอิทธิพลทางตะวันตก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติตั้งแต่
พ.ศ. 2411 ทรงมุ่งพัฒนาประเทศชาติทางด้านการปกครอง การสังคม การคมนาคม และ
การศึกษา เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ และทรง
เล็งเห็นว่าการพัฒนาประเทศจาเป็นต้องใช้บุคคลที่มีวิชาความรู้มารับราชการ ดังนั้น
การจัดการศึกษาของไทยจึงต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความต้องการของ
ประเทศชาติ
ใน พ.ศ.2411 ได้ทรงพระกรุณ าโปรดเกล้าให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นใน
พระบรมมหาราชวัง โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูล) เป็นอาจารย์ใหญ่
จึงนับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่มีสถานที่เรียนซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะ มีฆราวาสเป็นครู และทา
การสอนตามเวลาที่กาหนด มีการกาหนดวิชาที่เรียนได้แก่ วิชาภาษาไทย
ภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่น ๆ ซึ่งไม่เคยมีสอนโรงเรียนในสมัยเดิม และหลังจากนั้นก็ได้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งโรงเรียนต่าง ๆ อีกหลายประเภท ทั้งยังทรงตั้งโรงเรียน
หลวงสาหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือโรงเรียนวัดมหรรณพารามในปี พ.ศ. 2427 และ
ต่อมาเมื่อโรงเรียนหลวงได้แพร่หลายออกไปเป็นจานวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ประกาศตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น ใน ปี พ.ศ. 2430 เพื่อให้มีหน้าที่ดูแลและจัดการศึกษา
โดยเฉพาะ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาในประเทศไทยได้ดาเนินงานอย่างเป็นระบบ
และแพร่หลายกว้างขวางไปยังราษฎรได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาโดยการ
ดูแลของรัฐนั้น เริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง
111
ประกอบกับพระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปหลายครั้ง ทั้งยังส่งราชการชั้นสูงไปศึกษาและดู
งานยังประเทศต่าง ๆ จึงทาให้การจัดการศึกษาในระยะหลังได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะทางซีกโลกตะวันตก อันได้แก่ ประเทศในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นช่วงระยะแรกที่เป็นการจัด
การศึกษาในระบบโรงเรียน และมีการจัดทาโครงการศึกษาฉบับแรก พ.ศ. 2441 จนระยะ
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยรัฐได้จัดทาแผนการศึกษาชาติ
ขึ้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับการปรับแผนเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงขณะนี้เป็น
ระยะของแผนพัฒนาการศึกษาชาติออกมาหลายฉบับ และออกเป็นพระราชบัญญัติ
การศึกษาในที่สุด
5. การศึกษาปฐมวัยยุคเริ่มต้น
การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคเริ่มต้นของประเทศไทยนั้น มีการจัดเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของโรงเรียน
2. การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของสถานรับเลี้ยงเด็ก
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาให้จัดตั้งโรงเรียนราชกุมารขึ้นในปี พ.ศ. 2435
และในปี พ.ศ. 2436 จัดตั้งโรงเรียนราชกุมารีขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์ จึงนับเป็นสถานศึกษาในระดับ
ปฐมวัยแห่งแรกที่มีการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ เนื่องจากมีการจัดชั้นเรียน วิชาเรียน
วิธีเรียน และเวลาเรียนที่ชัดเจน ดังนี้
สถานศึกษา ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง
ผู้สอน ได้แก่ ผู้มีความรู้สูง
การจัดชั้นเรียน กาหนดไว้ 3 ชั้นคือ ชั้นที่ 1 หรือชั้นต้น หรือเทียบกับชั้นมูล ชั้นที่ 2
และชั้นที่ 3
วิชาที่เรียน ใช้แบบเรียนเร็ว เล่ม 1 เล่ม 2 และเล่ม 3 ตามลาดับชั้นเรียน โดยครู
สอนวิธีการเรียนอ่าน เขียน และเกี่ยวกับเลข
วิธีสอน ใช้วิธีสอนแบบเรียนปนเล่น และสนับสนุนให้เด็กลงมือทากิจกรรมด้วย
ตนเอง และฝึกความพร้อมทางกาย มากกว่า การฝึกด้านสติปัญญา
เวลาเรียน กาหนดเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกตั้งแต่ 10.00 – 12.00 น. ระยะที่สอง
เวลา 13.00 – 14.30 น. และระยะที่ 3 เวลา 15.00 – 16.00 น.
112
2. การศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของสถานรับเลี้ยงเด็ก การศึกษาปฐมวัยในรูปแบบ
สถานรับเลี้ยงเด็กได้เริ่มดาเนินการในพ.ศ.2433โดยพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ในรัชกาลที่ 5 เนื่องจากสาเหตุที่พระองค์สูญเสียพระราชธิดาที่มี
พระชนมายุเพียง 6 ชันษา ดังนั้นพระอัครชายาเธอจึงมีการดาริที่จะรวบรวมเด็กกาพร้า
เด็กยากจน เด็กจรจัดเหล่านี้เข้ามาเลี้ยง เพื่อให้การดูแลเรื่องอาหาร สุขภาพและการศึกษา
เพื่อช่วยให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองดีต่อไป
2. สถานรับเลี้ยงเด็กจึงได้ก่อตั้งขึ้นที่ตาบลสวนมะลิ ถนนบารุงเมือง และเปิด
ดาเนินการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าให้เรียกชื่อว่า โรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอ โดยมีกรมหมื่นดารง
ราชานุภาพ เป็นผู้อานวยการโรงเลี้ยงเด็กแห่งนี้เป็นคนแรก โรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายา
เธอนี้ จะรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 11 ปี สาหรับเด็กหญิง และไม่เกิน 13 ปี
สาหรับเพศชาย เด็กที่มีฐานะยากจนหรือเป็นกาพร้าหรือทุพพลภาพ ซึ่งในระยะแรกมีเด็ก
รวมทั้งสิ้น 108 คน เป็นเด็กชาย 74 คน และเด็กหญิง 14 คน เด็กเหล่านี้จะได้รับการดูแล
ในเรื่องการกินการนอน สุขภาพ ฝึกอบรมมารยาท และเมื่อเด็กมีอายุพอสมควรก็ให้เรียน
หนังสือ ฝึกอาชีพและหางานให้ทาตามลาดับ ซึ่งบิดามารดาของเด็กเหล่านี้ไม่ต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอ เป็นการริเริ่มงานปฐมวัย
ศึกษาในรูปของสถานเลี้ยงเด็กขึ้นเป็นครั้งแรกและเป็นการให้บริการแก่เด็กกลุ่มด้อยโอกาส
ให้สามารถแยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตให้เป็นประชากรที่มีคุณค่าของ
ประเทศชาติ ทั้งนี้เพราะสถานเลี้ยงเด็กแห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนและสมทบทุนทรัพย์จาก
เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนได้รับการอบรมสั่งสอนการเอาใจใส่ดูแลจากครูอย่างเต็มที่
จนกล่าวได้ว่า เด็กที่เกิดและเติบโตในสมัยนั้นแม้จะเกิดในบรรดาบุตรข้าราชการ หรือผู้ดีมี
สกุลบางคน ก็ยังไม่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยดีเท่าเด็กจากโรงเลี้ยงเด็ก จึงเป็นการประกันว่า
เด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้นมีตาแหน่งหน้าที่ในราชการและมีฐานะดีในเวลาต่อมา
2. การศึกษาปฐมวัยในยุคมีระบบโรงเรียน
การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุคที่มีระบบโรงเรียนมีการพัฒนาจัดระบบการศึกษา
ปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมามาจากการศึกษาของต่างประเทศโดยเฉพาะ
ประเทศในแถบยุโรป เพื่อให้เกิดความชัดเจนในยุคนี้สามารถได้แบ่งการจัดการศึกษาได้เป็น
2 ระยะ ได้แก่
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
113
2. การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ในยุคนี้ ราศี ทองสวัสดิ์ (2539 : 71 – 74) ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาปฐมวัยใน
ยุคมีระบบโรงเรียน ว่า เมื่อรัฐได้กาหนดโครงการศึกษาชาติ พ.ศ. 2441 ขึ้นมา ได้มีการจัด
การศึกษาในระดับปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะคือการจัดการศึกษาปฐมวัยของรัฐ และการจัด
การศึกษาปฐมวัยของเอกชน
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยของรัฐบาล จากหลักฐานและประวัติศาสตร์การจัด
การศึกษาของไทยแสดงให้เห็นว่า ความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้พัฒนา
เรื่อยมาจากการศึกษาในรูปของขั้นมูล หรือชั้นเตรียมประถมศึกษา และการจัดการศึกษา
ปฐมวัยตามแนวคิดของเฟรอเบล และมอนเตสซอรี่ ได้เริ่มมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา
ระดับปฐมวัยของไทย ตั้งแต่ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้เคยเสด็จประพาสทวีปยุโรป และโปรดให้มีผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ
การจัดการศึกษาไปศึกษาดูงานต่างประเทศดังปรากฏในโครงการศึกษาชาติ พ.ศ. 2441
เป็นต้นมา โดยโครงการศึกษาชาติฉบับนี้ได้กาหนดให้จัดการศึกษาตั้งตีระดับมูลศึกษา ซึ่ง
เทียบได้กับการศึกษาระดับปฐมวัย คาว่า “มูลศึกษา” หมายถึง การศึกษาขั้นต้นก่อนจะเข้า
ไปเรียนในชั้นประถมศึกษา มีกาหนด 3 ปี โดยเข้าเรียนอายุระหว่าง 7 – 9 ปี เรียนจบแล้ว
สามารถเรียนต่อชั้นประถมศึกษาได้และถ้าไม่เรียนต่อก็สามารถออกไปช่วยพ่อแม่ทามา
หากินได้ สาหรับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในระยะนี้จัดเป็น 3 รูปแบบ คือ
1) โรงเรียนบุรพบท หมายถึง โรงเรียนที่สอนเด็กให้มีความรู้ก่อนที่จะเข้า
โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนี้อาจจะแยกเป็นโรงเรียนต่างหาก หรือเป็นสาขาของ
โรงเรียนประถมศึกษาก็ได้ และจะรับเด็กอายุ 7 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกเด็กให้มีความรู้
เพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
2) โรงเรียน ก.ข. นโม หมายถึง โรงเรียนที่สอนให้เด็กสามารถเขียน อ่าน คิด
คานวณเลขบ้าง ซึ่งจะสอนอยู่ตามวัดหรือตามบ้านบ้าง โรงเรียนชนิดนี้จัดสาหรับคนทั่วไป
และไม่มีการกาหนดอายุ เมื่อเรียนรู้ไตรภาค คือ เขียน อ่าน และคิดเลขได้แล้ว จะเข้าเรียน
ในระดับประถมศึกษา
3) โรงเรียนคินเดอร์กาเทน (Kindergarten) หมายถึง โรงเรียนที่มีการจัด
การเรียนการสอนในระดับมูลศึกษาเช่นเดียวกับโรงเรียน ก.ข. นโม โรงเรียน ก.ข. นโม และ
โรงเรียนคินเดอร์กาเทน รับเด็กเข้าเรียนโดยไม่จากัดอายุ และให้เรียนอ่านเขียน คิดเลข
ตามวิธีเรียนอย่างเก่า และอาจเรียนตามบ้านหรือวัด
114
โรงเรียนประถมศึกษาแห่งใดไม่เปิดสอนชั้นมูลศึกษา จะเปิดสอนขั้นเตรียมขึ้นเพียง
1 ปี ก็ได้ สาหรับสอนเด็กให้มีความรู้พอเข้าเรียนในชั้นประถมอีกชั้นหนึ่งแทนมูลศึกษา 3 ปี
ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อเตรียมเด็กขึ้นเรียนชั้นประถมศึกษา การสอนในขั้นมูลและชั้นประถมศึกษาจึง
คล้ายคลึงหรือซ้ากันอยู่บ้าง
2. การศึกษาปฐมวัยของเอกชน ใน พ.ศ. 2454 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยได้จัดตั้ง
แผนกอนุบาลขึ้นเป็นแห่งแรกและดาเนินการโดยนางสาวเอ็ดนา ซานาโคลด์ (Miss Edna
Sana Cold) ซึ่งได้จัดการสอนตามแนวของเฟรอเบล โรงเรียนแห่งนี้มีครูไทยที่สาเร็จ
การศึกษาอนุบาลศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้นาความรู้และแนวคิดมาปรับปรุง
การจัดการศึกษาปฐมวัย ทั้งด้านการเรียนการสอน และวัสดุครุภัณฑ์ การรับเด็กเข้าเรียน
ในโรงเรียนนี้ จะรับเด็กทั้งชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี เพื่อมาอบรมในเรื่อง
ต่าง ๆ เช่น การสร้างสุขนิสัย มารยาทต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการฝึกความพร้อม
ด้านสายตา และกล้ามเนื้อให้ประสานสัมพันธ์กัน โดยมีครูมาสอนวิชาศิลปะการร้องราทา
เพลง และใช้วิธีการสอนตามแนวของเฟรอเบล
ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 โรงเรียนราชินีก็ได้เปิดแผนกอนุบาลขึ้นซึ่งรับเด็กทั้งชายและ
หญิงอายุระหว่าง 3 – 5 ปี และทาการสอนตามแนวของมอนเตสซอรี่และเฟรอเบล ต่อมา
ปี พ.ศ. 2470 โรงเรียนมาร์แตรเดอี ได้เปิดแผนกอนุบาลรับเด็กนักเรียนชายหญิง โดยใช้
แนวการสอนตามแบบของเฟรอเบล และที่โรงเรียนแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนชั้น
อนุบาลเมื่อครั้งทรงพระเยาว์
ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีโรงเรียนราษฎร์มากขึ้น
การจัดสอนวิชาต่าง ๆ ก็สอนตามพอใจของแต่ละโรงเรียนไม่เป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน
รัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ฉบับแรกของไทยขึ้นมาใช้ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน
2461 และในพระราชบัญญัตินี้แสดงให้เห็นว่าการปฐมวัยศึกษาในรูปอนุบาลได้เริ่มมีระบบ
แนวปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะการระบุวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาในระดับนี้ คือ
การมุ่งเลี้ยงดูเด็กอ่อน ๆ เป็นสาคัญ และสอนให้เด็กรู้อ่าน รู้เขียน รู้เรียน เรียนนับไป
พลาง ๆ ในระหว่างเวลานั้นโรงเรียนเช่นนี้ครูอนุบาลในโรงเรียนไม่ต้องมีประกาศนียบัตรก็
ได้ ดังนั้นจะเห็นว่า การศึกษาระดับปฐมวัยในระยะเริ่มมีระบบโรงเรียนนั้นเน้นการสอน
หนังสือเพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้ และคิดเลขเป็น เพื่อจะได้เข้าเรียนในโรงเรียน
ประถมศึกษาต่อไป
2. การศึกษาปฐมวัยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
115
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย คณะราษฎร์ได้
ประกาศนโยบายการปกครองบริหารประเทศไว้ 6ประการและการศึกษาเป็นหลักสาคัญประการ
หนึ่ง เมื่อมีการตั้งรัฐบาลขึ้นแล้วก็ได้จัดตั้งกรรมการศึกษาขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีเจ้าพระยา
ธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานเพื่อทาหน้าที่จัดวางแผนการศึกษาชาติ และแผนปฏิบัติการ
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคเริ่มต้น
2. การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคก้าวหน้า
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคเริ่มต้น
รัฐบาลในระยะต่อมาได้มีการจัดทาแผนการศึกษาชาติ อันเป็นแผนแม่บทของ
การจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติ โดยมีการแก้ไขและพัฒนาตลอดมา และ
หากจะศึกษาจากแผนการศึกษาทุกฉบับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาก็จะพบว่ารัฐ
กาหนดให้มี การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับมูลศึกษา (Kindergarten) ตลอดมา แต่ขาด
ระบบอย่างเด่นชัด โดยรัฐบาลให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาภาคบังคับมากกว่า
การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย แต่อย่างไรก็ตามในแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 ได้
ระบุว่า เด็กอายุระหว่าง 6 – 7 ปี ควรจะเข้าเรียนในชั้นมูลและแผนการศึกษา พ.ศ.2494ได้
กาหนดว่า เด็กอายุ 4–7 ปี ควรจะเข้าเรียนในชั้นอนุบาลและระบุไว้ในแผนการศึกษาชาติว่า
“การศึกษาชั้นอนุบาล ได้แก่ การอบรมกุลบุตรกุลธิดาก่อนการศึกษาบังคับ โดยมีหลักการ
ให้การอบรมนิสัยและฝึกประสาทไว้ให้พร้อมที่จะรับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาต่อไป
(พงศ์อินทร์ ศุขขจร. 2519 : 127)
จากประวัติการศึกษาของไทยจึงกล่าวได้ว่า หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การจัดการศึกษาปฐมวัยได้รับความสนใจมากขึ้น นักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัด
การศึกษาได้ตระหนักถึงความสาคัญของเด็กปฐมวัย และได้จัดการศึกษาให้แก่เด็กวัยนี้
อย่างกว้างขวาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 กระทรวงธรรมการได้เปิดโรงเรียนแห่งแรกของรัฐ
ขึ้นในจังหวัดพระนคร ชื่อว่า โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ มีนางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา
เป็นครูใหญ่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อทดลองการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย หรือ อนุบาล
ศึกษา และเพื่อทดสอบความสนใจ ความเข้าใจของประชาชนในเรื่องการศึกษาในระดับ
ดังกล่าว โดยรับนักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 3 ปี 6 เดือน – 6 ปี หรือจนเข้าเรียนใน
ชั้นระดับประถมศึกษา
บุคลากรที่มีความสาคัญในวงการการศึกษาปฐมวัยและเป็นผู้บุกเบิกในการจัด
การศึกษาดังกล่าว ได้แก่ ม.ล. มานิจ ชุมสาย ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความสนใจและ
116
เชี่ยวชาญในเรื่องเด็กเล็กและการประถมศึกษา เป็นผู้วางโครงการก่อสร้างอาคารเรียน
โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ให้การสนับสนุนและเผยแพร่เครื่องมือการสอนของมอนเตสซอรี่
ตลอดจนสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อการสอนในระดับปฐมวัย เพื่อช่วยให้การจัดการศึกษา
ดาเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี พ.ศ. 2485 กระทรวงธรรมการได้มีการเปิดโรงเรียนอนุบาลในส่วนภูมิภาค
เป็นแห่งแรก คือ โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2486 เปิดที่จังหวัดชลบุรี
ตาก พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี สงขลา พิษณุโลก และอุดรธานี การขยายโรงเรียน
อนุบาลได้ทาติดต่อกันเรื่อยมาจนสามารถเปิดโรงเรียนอนุบาลได้ทั่วทุกจังหวัดใน พ.ศ.
2511 นอกจากนี้รัฐยังมีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนช่วยจัดการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็น
การแบ่งเบาภาระของรัฐ ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลเอกชนจึงมีบทบาทสาคัญต่อการจัด
การศึกษาในระดับปฐมวัยเป็นอย่างมาก และโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับอนุบาลส่วนใหญ่
จะยึดแบบอย่าง การจัดการศึกษาตามรูปแบบของโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ มีรายละเอียด
ดังนี้
1. สถานศึกษา มีสถานที่เรียนโดยเฉพาะมีการปลูกสร้างอาคารเรียนที่เหมาะสม
กับเด็ก และปลูกสร้างอย่างถูกต้องตามหลักการ
2. จุดมุ่งหมาย การจัดการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายที่สาคัญดังนี้
2.1 เพื่อเตรียมสภาพจิตใจของเด็กให้พร้อมที่จะรับการศึกษาในขั้นต่อไปหัดให้
ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการเรียน การเล่น และการประดิษฐ์ อบรมให้เป็นคน ช่างคิด ช่างทา
ขยัน ไม่อยู่นิ่งเฉยและเป็นคนว่องไว กระฉับกระเฉง
2.2 เพื่ออบรมให้เด็กเป็นคนมีความสังเกต มีไหวพริบ เฉลียวฉลาด คิดหา
เหตุผลให้เกิดความเข้าใจตนเอง มีความพากเพียร พยายามและอดทน ไม่จับจด
2.3 เพื่ออบรมให้เป็นคนพึ่งตนเอง สามารถทาหรือปฏิบัติอะไรได้ด้วยตนเอง
เด็กในโรงเรียนอนุบาลจะต้องอบรมให้เด็กช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด เช่น หัดแต่งตัว ใส่
เสื้อผ้า นุ่งกางเกง หวีผม รับประทานอาหารเอง ฯลฯ และจะต้องทาให้เป็นเวลาด้วยโดยไม่
มีพี่เลี้ยงคอยตักเตือน หรือคอยทาให้ ครูเป็นแต่ผู้คอยดูแล ควบคุมอยู่แต่ห่าง ๆ เท่านั้น
2.4 เพื่อหัดมารยาทและศีลธรรมทั้งในส่วนตัวและปฏิบัติต่อสังคม และหัด
มารยาทในการนั่ง นอน เดิน และรับประทานอาหาร ฯลฯ หัดให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อย
ฝึกนิสัยให้เป็นคนมีศีลธรรมอันดี จิตใจเข้มแข็ง มีระเบียบ รักษาวินัย มีความสามัคคีซึ่งกัน
และกัน
117
2.5 เพื่อปลูกฝังนิสัยทางสุขภาพอนามัย รู้จักระวังสุขภาพตนเอง และ
รับประทานอาหารเป็นเวลา รู้จักรักษาร่างกายให้สะอาด และแข็งแรงอยู่เสมอ
2.6 เพื่ออบรมให้ร่าเริงต่อชีวิต มีการสอนร้องเพลง และการเล่นที่สนุกสนาน
ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นนักสู้ซึ่งเต็มไปด้วยความร่าเริงเบิกบานและคิดก้าวหน้าเสมอ
3. หลักสูตร ได้มีการกาหนดวิชาที่เรียนและอัตราเวลาเรียนไว้อย่างชัดเจน
4. การจัดการเรียนการสอน สอนตามแนวคิดของเฟรอเบล โดยใช้วิธีการสอน
แบบเรียนปนเล่น ส่งเสริมให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองและเหมาะสมกับประเพณี
และวัฒนธรรมไทย ทั้งยังสามารถนาไปปฏิบัติในชีวิตประจาวันได้
5. การกาหนดชั้นเรียนและเวลาเรียน การเรียนระดับนี้มีกาหนด 2 ปี คือ ชั้น
อนุบาลปีที่ 1 และปีที่ 2 สาหรับระยะเวลาเรียนจะเริ่มตั้งแต่ 9.00 – 15.00 น. ซึ่งทาง
โรงเรียนจะกาหนดตารางสอนประจาวัน เพื่อให้ครูสอนวิชาและจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อฝึก
ให้เด็กสังเกต คิดโดยการใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น สนทนา เล่านิทาน ร้องเพลง วาดภาพ และ
ส่งเสริมให้เด็กได้พักผ่อนด้วย และเนื่องจากเด็กมีช่วงความสนใจสั้น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ
จึงใช้เวลาช่วง สั้น ๆ คือช่วงละประมาณ 15 นาที
6. ครูและบุคลากร เป็นผู้มีความรู้ เชี่ยวชาญในเรื่องการศึกษาในระดับปฐมวัยและ
การประถมศึกษาเป็นอย่างดี และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสาหรับสอนเด็กและเป็น
แบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศนั้นได้รับความสนใจ
จากบิดามารดาและผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ต่อมารัฐมีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนช่วยจัด
การศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐโดยรัฐให้การช่วยเหลืออุดหนุน
ทางด้านการเงิน และช่วยผลิตครูอบรมครูแก่โรงเรียนอนุบาลเอกชนด้วย ส่วนการจัด
การเรียนการสอนนั้น ยึดแบบอย่างหลักสูตรและแนวการสอนเช่นเดียวกับโรงเรียนอนุบาล
ละอออุทิศ ดังนั้นกล่าวได้ว่าโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ เป็นสถานศึกษาแห่งแรกที่มีการจัด
การศึกษาระดับปฐมวัยอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาระดับนี้
ตามแนวคิดหลักสากล นับแต่นั้นเป็นต้นมาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยก็ได้รับ
ความสนใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของชาติ ทั้งยังตระหนักถึง
ความสาคัญของการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระดับนี้มากขึ้น
2. การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคก้าวหน้า
เนื่องจากรัฐได้ตระหนักถึงความสาคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมากขึ้น
จึงได้กาหนดนโยบายในแผนพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ดังเช่นแผนการศึกษาชาติ
118
พ.ศ. 2494 ได้กาหนดให้เด็กอายุ 3 – 7 ปี เข้าเรียนในระดับปฐมวัย และในแผนการศึกษา
ชาติ พ.ศ. 2503 ได้ระบุและกล่าวถึงการศึกษาปฐมวัยไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นดังนี้ (อารี รังสินันท์.
2527 : 142)
1. การอนุบาลศึกษา เป็นระดับหนึ่งของการศึกษาและเป็นการศึกษาก่อนภาค
บังคับ อาจจัดเป็นอนุบาลที่มี 2 ชั้น หรือ 3 ชั้น หรือชั้นเด็กเล็กในโรงเรียนประถมศึกษา
2. การอบรมเบื้องต้น เพื่อให้กุลบุตรกุลธิดา พร้อมที่จะรับการศึกษาในระดับ
ประถมศึกษา
3. อายุ กาหนดอายุเด็กปฐมวัยระหว่าง 3 – 6 ปี
แผนการศึกษาชาติฉบับนี้ ช่วยให้เห็นแนวปฏิบัติได้ชัดเจนขึ้น ต่อมาในแผนการ
ศึกษาชาติ พ.ศ. 2520 – 2524 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาชาติใหม่และได้มี
การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการปฐมวัยศึกษา ดังนี้
1) การศึกษาก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาระดับหนึ่ง
2) รัฐพึงเร่งรัดและสนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยก่อนประถมศึกษารัฐจะ
สนับสนุนให้ท้องถิ่นและภาคเอกชนจัดให้มาก รัฐจะจัดเป็นตัวอย่างและเพื่อการค้นคว้า
วิจัยเท่านั้น
3) การศึกษาก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษา
ภาคบังคับ เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้านพอที่จะรับการศึกษาต่อไป
4) การจัดการศึกษาก่อนประถมศึกษา อาจจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนหรือ
การศึกษานอกโรงเรียน โดยอาจจัดเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์เด็กปฐมวัยหรืออาจ
จัดเป็นชั้นเด็กเล็ก หรือโรงเรียนอนุบาลก็ได้ ทั้งยังสนับสนุนให้ท้องถิ่นและเอกชนจัด
การศึกษาสาหรับเด็กปฐมวัยให้มากที่สุด โดยที่รัฐจะจัดเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งและเพื่อการ
ค้นคว้าวิจัยอีกส่วนหนึ่ง
จากนโยบายในแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2520 นี้เอง ทาให้การจัดการศึกษาระดับ
ปฐมวัยมีความยืดหยุ่นและจัดหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพราะมีหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนได้
ให้ความสนใจ และดาเนินการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อช่วยพัฒนาเด็กในวัยนี้มากขึ้น
ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่จัดการศึกษาจะมีวัตถุประสงค์และแนวการจัดที่แตกต่างกันไป
หน่วยงานที่ให้การศึกษาระดับปฐมวัยอาจจัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามวัตถุประสงค์ใน
การจัดได้เป็น 2 ประเภท
1. หน่วยงานที่ใช้การศึกษาและการพัฒนาเด็กในชั้นอนุบาลและเตรียม
ประถมศึกษา เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาในแง่ที่มุ่งพัฒนาด้านวิชาการ เตรียมให้เด็กให้มี
ความพร้อมทางด้านวิชาการที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งในรูปของโรงเรียน
119
อนุบาล 2 ปี หน่วยงานประเภทนี้ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลต่าง ๆ ทั้งที่ดาเนินการโดยรัฐและ
เอกชน นอกจากนี้ยังมีโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการโรงเรียนวัดสอนเด็กก่อนเกณฑ์
โครงการจัดชั้นเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บังคับเรียนในโครงการฝึกหัดครูชนบท กรมการฝึกหัด
ครู เป็นต้น
2. หน่วยงานที่มุ่งพัฒนาเด็กเล็กในด้านการส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดู เพื่อให้เด็กมี
ความเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและจิตใจและเพื่อแบ่งเบาภาระของบิดามารดาหน่วยงาน
ดังกล่าว ได้แก่ โครงการพัฒนาเด็กเล็กของกรมการพัฒนาชุมชน สถานรับเลี้ยงเด็ก
กลางวันของสานักอนามัยกรุงเทพฯ และสถานสงเคราะห์เด็กของเอกชนภายใต้การควบคุม
ของกรมประชาสงเคราะห์
3. รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
จากนโยบายการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยในอดีตที่ผ่านมานั้น จะเห็นได้ว่าใน
ระยะแรกรัฐได้มุ่งเน้นในเชิงปริมาณเป็นสาคัญ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเปิดขยายชั้น
เด็กเล็กขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ แต่เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีจากัดจึงสนับสนุนให้เอกชนได้
เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐ ขณะเดียวกันในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 5
และต่อเนื่องถึงแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 6 รัฐได้ตระหนักถึงปัญหาอันเนื่องมาจาก
ความไม่เสมอภาคทางการศึกษาระหว่างเขตเมืองกับในเขตชนบทจึงได้มุ่งเน้นที่จะให้มี
การกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมทั้งในภูมิภาคและชนบท โดยมุ่งเน้นที่จะ
พัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษามากกว่าเดิม ดังนั้น การจัดการศึกษาปฐมวัย จึงมี
ลักษณะสาคัญพอสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ปัจจัยที่สาคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย
1. รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สาหรับในเอกสารนี้จะกล่าวถึงหน่วยงาน วัตถุประสงค์และรูปแบบของการจัด
การศึกษาปฐมวัยของแต่ละหน่วย เพื่อให้เห็นความเหมือนความต่างของแต่ละหน่วยงาน
พอสังเขป ดังนี้
1. ทบวงมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้เปิดสอนชั้นเด็กเล็กและชั้นอนุบาลขึ้นในโรงเรียนสาธิต
ของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ซึ่งบางแห่งเปิดรับเด็กอายุ 3 ปี โดยจะเรียนอนุบาล 3 ปี หรือ
จะรับเด็กอายุ 4 ปี เพื่อเรียนชั้นอนุบาล 2 ปี และรับเด็ก 5 ปี เข้าเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 ปี
120
วัตถุประสงค์
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และเพื่อ
เตรียมความพร้อมให้เด็กสาหรับเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา
รูปแบบ
มีการจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกับโรงเรียนอนุบาลทั่วไปที่มุ่งเตรียม
ความพร้อมสาหรับเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาและมีแนวการจัดประสบการณ์ที่ชัดเจน
2. กระทรวงศึกษาธิการ มี 5 หน่วยงาน ได้แก่
2.1 สานักคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) ดาเนินการจัด
การศึกษาระดับปฐมวัยศึกษาขึ้นในรูปแบบของโรงเรียนอนุบาลและชั้นเด็กเล็ก โดยเรียนชั้น
อนุบาล 2 ปี ซึ่งจะรับนักเรียนอายุ 4 – 6 ปี ในบางแห่งจะเรียน 3 ปี โดยรับเด็กนักเรียน
อายุ 3 – 6 ปี ส่วนโรงเรียนใดที่ไม่สามารถเปิดชั้นอนุบาลได้ ก็อาจจะเปิดชั้นเด็กเล็กโดยใช้
เวลาเรียน 1 ปี และรับนักเรียนอายุ 5 – 6 ปี เข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อแสวงหารูปแบบศูนย์เด็กปฐมวัยที่ถูกต้อง เผยแพร่การจัดตั้งศูนย์เด็กปฐมวัย
ในทุกจังหวัดและเพื่อทดลอง วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
2. เพื่อประสานงานกับหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ที่ได้จัดอบรมเลี้ยงดูเด็กให้
ถูกต้องตามหลักวิชาการ
3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่น เอกชน หน่วยงาน องค์การมูลนิธิต่าง ๆ จัดตั้ง
ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนให้มากขึ้น
รูปแบบ
ในโรงเรียนอนุบาลในสังกัด สปช. จะเปิดสอนชั้นอนุบาล 2 ปี หรือ 3 ปี หรือเปิด
สอนชั้นเด็กเล็กในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กก่อนที่จะเข้าเรียนในชั้น
ประถมศึกษาโดยใช้เวลาเรียน 1 ปี
2.2 สานักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (สช.) เนื่องจากรัฐไม่สามารถจัด
การศึกษาในระดับนี้ได้อย่างทั่วถึง จึงสนับสนุนให้เอกชนดาเนินการทั้งส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาค โดยรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี เข้าเรียนชั้นอนุบาลหลักสูตร 3 ปี 2 ปี โรงเรียนเอกชนที่
เปิดสอนในระดับนี้เป็นจานวนมาก บางแห่งเปิดสอนมานาน และสามารถจัดดาเนินการจน
มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม
วัตถุประสงค์
121
สถานศึกษาของเอกชนที่เปิดสอนในระดับปฐมวัยมีวัตถุประสงค์คือ ตอบสนอง
นโยบายของรัฐช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็ก และเพื่อเตรียมเด็กให้มี
ความพร้อมสามารถที่จะเรียนในชั้นประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี
รูปแบบ
สถานศึกษาของเอกชนบางแห่งรับเด็กอายุ 3 – 4 ปี เข้าเรียนชั้นอนุบาล 3 ปี หรือ
2 ปี โดยบางแห่งเริ่มสอนหนังสือให้กับเด็ก บางแห่งก็เพียงเตรียมความพร้อมให้เด็ก ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละโรงเรียน และความต้องการของผู้ปกครองที่ส่งเด็กเข้า
เรียนในโรงเรียนนั้น ๆ
2.3 กรมสามัญศึกษา (สศ.)
ได้ดาเนินการจัดการศึกษาสาหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และ
การศึกษาพิเศษโดยเปิดชั้นอนุบาล 2 ปี และชั้นเด็กเล็ก 1 ปี ทั้งยังสนับสนุนให้เด็กพิการได้
เรียนร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนปกติอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1) เพื่อช่วยเหลือแก่เด็กปฐมวัยที่มีความพิการในด้านต่าง ๆ เช่น ทางตา ทางหู
เป็นต้น
2) จัดให้เป็นตัวอย่างและค้นคว้าทางวิชาการ
รูปแบบ
จัดให้มีโรงเรียนเฉพาะความพิการแต่ละประเภท และจัดในรูปแบบของการเรียน
ร่วม คือ จัดชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ หรือในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล สถาน
สงเคราะห์เด็กพิการ เป็นต้น
2.4 กรมศาสนา (ศน.)
เริ่มโครงการสอนเด็กก่อนวัยเรียน โดยใช้วัดเป็นโรงเรียนสาหรับอบรมสั่งสอนเด็ก
รับเด็กอายุประมาณ 4 ปี เข้าเรียน
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้พระได้ทาประโยชน์แก่สังคม โดยมีพี่เลี้ยงเป็นฆราวาสร่วมปฏิบัติงาน ใช้
วัดเป็นโรงเรียนสาหรับอบรมสั่งสอนเด็กและจัดขึ้นเพื่อการกุศลไม่เก็บค่าเล่าเรียน
2) เป็นการเตรียมเด็กให้มีความรู้พื้นฐานก่อนที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา
รวมทั้งเป็นการปลูกฝังคุณธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามให้แก่เด็ก
รูปแบบ
122
สอนเด็กก่อนเกณฑ์ที่จะเข้ารับการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายทั้งชายและหญิง
ที่มีอายุตั้งแต่ 4 – 6 ปี โดยมีพระภิกษุสามเณรเป็นผู้สอน และมีพี่เลี้ยงที่เป็นฆราวาสร่วม
ปฏิบัติงาน เพื่อคอยดูแลนักเรียน
2.5 กรมการฝึกหัดครู (กฝ.)
วิทยาลัยครูต่าง ๆ จัดให้มีโรงเรียนสาธิตโดยรับเด็กตั้งแต่อายุ 3 ปี เข้าเรียนในชั้น
เตรียมอนุบาล บางแห่งรับเด็กอายุประมาณ 4 ปี นอกจากนี้กรมการฝึกหัดครูยังได้จัดทา
โครงการอบรมเด็กเล็กในโครงการฝึกหัดครูชนบท โดยได้ทดลองทาในชนบทที่มีฐานะทาง
เศรษฐกิจยากจนและจัดทาที่โรงเรียนประถมศึกษาในโครงการ ส่วนมากจะมีเด็กอายุ
ระหว่าง 3 – 6 ปี ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่แนวทางการอบรมเลี้ยงดูเด็กเล็กในชนบท และสนับสนุน
ให้ชุมชนสามารถดาเนินงานต่อไปได้
วัตถุประสงค์
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า และฝึกหัดการสอนหรือเป็นแหล่งฝึกงาน
สาหรับนักศึกษาวิทยาลัยครูเรียนวิชาเอกอนุบาลศึกษา รวมทั้งเป็นการเตรียมสภาพเด็กให้
พร้อมที่จะช่วยเหลือตนเองได้ ปลูกฝังนิสัยอันดีงาม
รูปแบบ
มีการจัดการเรียนการสอนแบบเดียวกับโรงเรียนอนุบาลทั่วไปที่มุ่งเตรียม
ความพร้อมสภาพเด็กให้พร้อมเพื่อเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา
1. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทยมี 3 หน่วยงาน ได้แก่
3.1 กรมพัฒนาชุมชน
กรมพัฒนาชุมชนดาเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในหมู่บ้านโดยรับเด็กเล็ก
ในหมู่บ้าน โดยรับเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะตั้งอยู่ใน
หมู่บ้านเขตพัฒนา โดยรับเด็กในหมู่บ้านเข้าเรียน และส่งเสริมประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน
การดาเนินงาน โดยมีกรมพัฒนาชุมชนให้การสนับสนุนและประสานงาน
วัตถุประสงค์
กรมพัฒนาชุมชนมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ในเขต
พัฒนาได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้ท้องถิ่นช่วยตัวเองและ
ร่วมมือกันพัฒนาเด็ก โดยเผยแพร่วิทยาการแผนใหม่ไปสู่บิดามารดาผู้ปกครองเด็กและ
ชุมชน
รูปแบบ
123
รูปแบบ เน้นการอบรมเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีบุคลากรหรือผู้ดูแลเด็ก
(ผดด.) เป็นผู้ปฏิบัติงาน โดยการคัดเลือกจากบุคคลในท้องถิ่นที่ศรัทธาในการเลี้ยงดูเด็ก
ซึ่งทางกรมพัฒนาชุมชนจะทาการฝึกอบรมให้
3.2 กรมตารวจ
โดยกองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน เป็นหน่วยงานที่ดาเนินการจัด
การศึกษาในระดับนี้ โดยรับเด็กอายุ 2 ½ - 6 ปี ซึ่งจะจัดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะสม และได้มี
การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ไปสอนครูพี่เลี้ยงเด็ก ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ให้มีความรู้ ความเข้าใจใน
การอบรมเด็ก
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กในท้องถิ่นห่างไกลให้ได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่าง
เหมาะสม และร่วมมือกันพัฒนาเด็กให้พร้อมที่จะเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
รูปแบบ
รูปแบบที่จัดแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ ชั้นก่อนอนุบาล ซึ่งจะรับเด็กอายุประมาณ 2 ปี
ครึ่ง – 3 ปี เข้าไว้ดูแลในสถานสงเคราะห์เด็ก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกองบัญชาการเขต และ
ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา จะรับเด็กอายุประมาณ 4 – 5 ปี เข้าเรียน โดยเปิดชั้นเรียนใน
โรงเรียนประถมศึกษาของกองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน มีผู้บังคับบัญชาแต่ละ
ระดับเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายโรงเรียน
อนุบาล ฝ่ายสาธารณสุขและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเลือกบุคคล ซึ่งอาจเป็นพระ
พัฒนากร เกษตรตาบล พนักงานอนามัย ครู เป็นผู้นาโครงการเฉพาะพื้นที่ตามที่เห็น
เหมาะสม โดยมี การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ไปสอนครู พี่เลี้ยงเด็ก ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้มี
ความรู้ ความเข้าใจในการอบรมเด็ก
3.3 กรมประชาสงเคราะห์
หน่วยงานที่รับผิดชอบคือสถานเลี้ยงเด็กเล็กทั้งของเอกชนและของ
กรมประชาสงเคราะห์ โดยกรมประชาสงเคราะห์จะรับเด็กกาพร้า เด็กจากครอบครัว
ยากจน เด็กอนาถา พิการทางสมองและปัญญา เด็กชายที่กระทาความผิดตามคาสั่งศาล
มีปัญหาความประพฤติ และเร่ร่อน ที่มีอายุระหว่างแรกเกิดถึง 18 ปี สถานสงเคราะห์
ประเภทนี้มีหลายแห่ง เช่น บ้าน ราชวิถี สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด เป็นต้น ส่วน
สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนจะรับเด็กอายุระหว่างแรกเกิดจนถึง 6 ปี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้การสนับสนุนส่งเสริมและควบคุมสถานสงเคราะห์และสถานรับเลี้ยงเด็ก
ของเอกชนให้ดาเนินงานด้วยดี มีประสิทธิภาพและถูกกฎหมาย
124
2. เป็นตัวอย่างแก่สถานเลี้ยงเด็กและตอบสนองความต้องการของประชาชนโดย
การจัดตั้งสถานเลี้ยงเด็กของรัฐ และคิดค่าบริการถูกกว่าเอกชน
รูปแบบ
รูปแบบสถานเลี้ยงเด็กเอกชนจะรับเด็ก 2 ประเภท คือ ประเภทกลางวัน และ
ประเภทประจาอายุระหว่างแรกเกิด – 6 ปี
ส่วนหน่วยงานที่กรมประชาสงเคราะห์จัดขึ้นจะเป็นไปในรูปของสถานแรกรับเด็ก
สถานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน
ในรูปแบบของสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็ก
2. กระทรวงสาธารณสุข มี 2 หน่วยงานได้แก่
4.1 กรมอนามัย กรมอนามัยจัดในรูปแบบของศูนย์โภชนาการ โดยรับเด็กอายุ
ประมาณ 3 – 5 ปี เข้าเรียนจนอายุถึงเกณฑ์เข้าเรียนประถมศึกษาภาคบังคับโดยใช้อาคาร
ของสถานีอนามัยอาเภอ หรือสร้างอาคารใหม่ใกล้ ๆ สถานีอนามัยอาเภอ
วัตถุประสงค์
เพื่อที่จะให้เด็กในท้องถิ่น ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกวิธีและเผยแพร่ความรู้ทาง
โภชนาการแก่บิดามารดาของเด็ก ตลอดจนช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจน
รูปแบบ
ศูนย์โภชนาการเด็กของกรมอนามัยแต่ละแห่งจะรับเด็กประมาณ 60 คน โดยเลือก
ท้องถิ่นที่มีปัญหาทางโภชนาการมากมาดาเนินการก่อน และให้การดูแลในด้านสุขภาพ
อนามัย ด้านอาหารและโภชนาการ และด้านการศึกษา
4.2 กรมการแพทย์ ให้บริการแก่เด็กระดับอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 14 ปี สาหรับ
เด็กเล็กจะให้คาแนะนาในด้านการอบรมเลี้ยงดู การให้ความรู้ด้านจิตวิทยา และพัฒนาการ
ด้านอารมณ์และจิตใจ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้บริการในการแก้ปัญหาทางอารมณ์จิตใจและพฤติกรรมของเด็กและ
ประชาชนทั่วไป รวมทั้งการให้ความรู้ด้านจิตวิทยาและการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกวิธีแก่บิดา
มารดาแก่ผู้ปกครอง
รูปแบบ
รูปแบบจัดเป็นบริการด้านสุขภาพจิต โดยในศูนย์สุขวิทยาจิตที่มีทั้งในส่วนกลาง
และส่วนภูมิภาค โดยให้บริการโดยมีหน่วยจิตเวชให้การตรวจรักษา
3. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มี 2 หน่วยงาน ได้แก่
5.1 กรุงเทพมหานคร
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55

More Related Content

What's hot

เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1panisra
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีrewat Chitthaing
 
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาสุขศึกษา 5
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1  วิชาสุขศึกษา  5ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1  วิชาสุขศึกษา  5
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาสุขศึกษา 5Tikaben Phutako
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพ็ญลักษณ์ สุวรรณาโชติ
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2Wichai Likitponrak
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงKru Tew Suetrong
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3สุภาพร สิทธิการ
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรมkrupornpana55
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1suchinmam
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์Padvee Academy
 
ตัวอย่างแผนการสอนรวม7e
ตัวอย่างแผนการสอนรวม7eตัวอย่างแผนการสอนรวม7e
ตัวอย่างแผนการสอนรวม7ekroojaja
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความขนิษฐา ทวีศรี
 
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55Decode Ac
 
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานSamorn Tara
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4Thanawut Rattanadon
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดพัน พัน
 

What's hot (20)

เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
 
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาสุขศึกษา 5
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1  วิชาสุขศึกษา  5ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1  วิชาสุขศึกษา  5
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 1 วิชาสุขศึกษา 5
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
ตัวอย่างแผนการสอนรวม7e
ตัวอย่างแผนการสอนรวม7eตัวอย่างแผนการสอนรวม7e
ตัวอย่างแผนการสอนรวม7e
 
ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
 
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
 
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
 
ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงาน
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
 

Similar to บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55

นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยhall999
 
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยhall999
 
ประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยChalee Pop
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Net'Net Zii
 
Cheet5 curriculam
Cheet5 curriculamCheet5 curriculam
Cheet5 curriculamZTu Zii ICe
 
การศึกษาไทยในสมัยโบราณ
การศึกษาไทยในสมัยโบราณการศึกษาไทยในสมัยโบราณ
การศึกษาไทยในสมัยโบราณssuser930700
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทยวิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทยnaykulap
 
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6Thanawut Rattanadon
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 

Similar to บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55 (20)

นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
 
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
 
ประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทย
 
สังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้นสังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้น
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
 
อังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้นอังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้น
 
Key pr1 30109
Key pr1 30109Key pr1 30109
Key pr1 30109
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554
 
Cheet5 curriculam
Cheet5 curriculamCheet5 curriculam
Cheet5 curriculam
 
แผนที16
แผนที16แผนที16
แผนที16
 
แผนฉบับย่อ
แผนฉบับย่อแผนฉบับย่อ
แผนฉบับย่อ
 
การศึกษาไทยในสมัยโบราณ
การศึกษาไทยในสมัยโบราณการศึกษาไทยในสมัยโบราณ
การศึกษาไทยในสมัยโบราณ
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทยวิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทย
 
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
 
ประวัติศาสตร์ไทย 3
ประวัติศาสตร์ไทย 3ประวัติศาสตร์ไทย 3
ประวัติศาสตร์ไทย 3
 
2558 project
2558 project 2558 project
2558 project
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 

บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55

  • 1. บทที่ 5 ประวัติการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย แผนการสอนประจาบท 1. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้สามารถบอกประวัติความเป็นมาของการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศ ไทยได้ 2. เพื่อให้สามารถอธิบายการจัดการศึกษาปฐมวัยของไทยในแต่ละยุคได้ 3. เพื่อให้สามารถอธิบายสาระสาคัญของการเปลี่ยนแปลงการศึกษาปฐมวัยได้ 4. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษา ปฐมวัยในประเทศไทยได้ 2. สาระการเรียนรู้ 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน 1.1 สมัยกรุงสุโขทัย 1.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา 1.3 สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 1.4 สมัยได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุคมีระบบโรงเรียน 2.1 การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2.2 การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2.3 รูปแบบการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย 2.4 ปัจจัยสาคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย 3. กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ศึกษาเอกสารรายวิชาการศึกษาปฐมวัย 2. นาเสนอผลการศึกษาตามหัวข้อที่กาหนด 3. อภิปราย สรุป ซักถาม จากสไลด์ 4. มอบหมายงานให้ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ทาให้การจัดการศึกษาปฐมวัยในแต่ละ ยุคเกิดการเปลี่ยนแปลง 5. ทดสอบหลังเรียน (แบบทดสอบ)
  • 2. 106 4. สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน 2. สไลด์ประกอบการสอน (Power point) 3. เว็บไซต์อาจารย์ Internet 4. หนังสือ ตารา วารสาร งานวิจัย 5. การประเมินผล 1. การสรุปสาระสาคัญ การแสดงความคิดเห็นและอภิปราย 2. นาเสนอรายงานการศึกษาค้นคว้า 3. ผลการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย 4. การทดสอบ และแบบฝึกหัดท้ายบท
  • 3. 107 บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาของการศึกษาปฐมวัยในประเทศ ประเทศไทยมีการพัฒนาการศึกษามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจัย โดยการจัดการศึกษา ในแต่ละยุคสมัยมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันในรูปแบบที่จัด การศึกษาปฐมวัย ในยุคแรกหลักการจัดการศึกษายังไม่มีระบบที่ชัดเจน และยังจัดการเรียนการสอนมีอยู่ใน วงจากัดในระดับครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือในชุมชนเล็ก ๆ การจัดการศึกษาที่เป็นระบบ มากที่สุดคือ จัดการเรียนการสอนในวัดโดยมีพระสงฆ์เป็นครูผู้สอน เป็นต้น ในระยะหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง การจัดการศึกษาได้พัฒนาระบบและรูปแบบในการจัด การศึกษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจนถึงยุคปัจจุบัน เพื่อให้ความเข้าใจถึงประวัติความเป็นมาใน การจัดการศึกษาปฐมวัย ในบทนี้จึงขอกล่าวถึงรายละเอียดตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน 1.1 สมัยกรุงสุโขทัย 1.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา 1.3 สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 1.4 สมัยได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุคมีระบบโรงเรียน 2.1 การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2.2 การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2.3 รูปแบบการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย 2.4 ปัจจัยสาคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน ราศี ทองสวัสดิ์ (2539 : 69 – 71) ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมี ระบบโรงเรียนไว้ ดังนี้ 1. การศึกษาปฐมวัยในสมัยกรุงสุโขทัย เมื่อพ่อขุนรามคาแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 1826 พระองค์ทรง นาออกเผยแพร่สู่บรรดาคนไทยทั่วไปในแถบลุ่มแม่น้ายม แม่น้าเจ้าพระยา ตลอดจนลงไป ทางใต้ได้ยอมรับและนาไปสั่งสอนถ่ายทอดกันต่อไปอย่างแพร่หลายทั้งยังทรงสั่งสอน พระราชวงศ์ ข้าราชบริพาร ตลอดจนราษฎรให้หัดอ่าน หัดเขียนหนังสือไทย การศึกษาใน
  • 4. 108 สมัยนี้ เป็นการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ (Informal Education) ทั้งนี้เนื่องจากไม่มี หลักเกณฑ์ที่แน่นอน ไม่มีการบังคับแต่เป็นการสอนให้เปล่า ไม่มีค่าจ้างหรือค่าเล่าเรียน และการเรียนเป็นไปตามความสมัครใจของผู้เรียน สถานศึกษา ได้แก่ บ้าน วัด สานักปราชญ์ราชบัณฑิต และราชสานัก ครูผู้สอน ได้แก่ บิดามารดา พระ พราหมณ์ และราชบัณฑิต วิชาที่เรียนการศึกษาในสมัยกรุงสุโขทัยนี้อาจกล่าวได้ว่ามีการจัดการศึกษาโดย ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาต่าง ๆ ดังนี้ 1. มีการสอนจริยศึกษา อันได้แก่ การสอนให้เด็กได้ปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม จรรยา และปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา 2. มีการสอนพุทธิศึกษา ได้แก่ การสอนอ่านเขียน ภาษาไทย ภาษาบาลี และวิชา ความรู้เบื้องต้นอย่างอื่น 3. มีการสอนพลศึกษา ในสมัยนี้ผู้ชายทุกคนต้องเป็นทหาร ดังนั้นจึงจาเป็นต้อง ฝึกหัดวิชาสาหรับป้องกันตัว และไว้ใช้ในเวลาเกิดสงคราม 4. มีการสอนหัตถศึกษา ส่วนใหญ่ศึกษาภายในบ้าน โดยมีบิดามารดาที่มีความรู้ ทางอาชีพได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่บุตรหลานของตน ส่วนเพศหญิงก็จะได้รับการอบรม เกี่ยวกับกิจการบ้านเรือน การฝีมือ การประกอบอาหาร การทอผ้าหรือการประกอบอาชีพ ของครอบครัว จากการศึกษาประวัติของการศึกษาในสมัยสุโขทัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในสมัยนี้ เป็นการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ และไม่ได้ให้ความสาคัญกับการจัดการในระดับปฐมวัย ศึกษา 2. การศึกษาปฐมวัยในสมัยกรุงศรีอยุธยา การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยาในระยะแรกคงดาเนินไปตามแบบเดิมเช่นเดียวกับ สมัยกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ดังนั้นสมัยนี้การศึกษาของไทยจึงมีสานักสอนศาสนา เพื่ออบรมเด็กไทยให้เป็นสามเณรใน คริสต์ศาสนา และขณะเดียวกันก็มีการสอนรายวิชาอื่น ๆ นอกจากศาสนาด้วย อาทิ ภาษา ฝรั่งเศส ดาราศาสตร์ การต่อเรือ การก่อสร้าง เป็นต้น การศึกษาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากทั้งด้านจริยศึกษา พุทธิศึกษาและพลศึกษา รวมทั้งมีหนังสือแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก คือ จินดามณี ซึ่ง บรรจุเนื้อหาวิชาภาษาไทยตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาขึ้นไปจนถึงขั้นอุดมศึกษาและการศึกษา
  • 5. 109 เริ่มแพร่หลายสู่บุคคลธรรมดาสามัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาใน ระดับปฐมวัยที่จัดให้แก่เด็กในวัย 3 – 7 ปี ก็ยังไม่มีปรากฏ 3. การศึกษาปฐมวัยในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สมัยรัชกาล ที่ 1 – รัชกาลที่ 4) หลังจากเหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ปกติแล้ว การศึกษาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เข้ารูปเดิมสมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนเนื่องจากทรงเห็นว่าการศึกษาวิชา หนังสือนั้นราษฎรทั่วไปได้อาศัยวัดเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนแล้ว แต่วิชาชีพอื่น ๆ ยังไม่มีที่จะ ศึกษาเล่าเรียนกันได้ จึงโปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญในวิชาแขนงต่าง ๆ ได้จารึกวิทยาการลงในแผ่นศิลา วิชาที่นามาจารึกไว้ส่วนใหญ่เป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดอักษรศาสตร์ หมวดแพทยศาสตร์ และหมวดวิชาช่างฝีมือ นอกจากนี้ยังได้ดัดแปลงหนังสือจินดามณีเสียใหม่เพื่อได้ใช้ศึกษาเล่าเรียนได้ง่ายขึ้น หนังสือเรียนดังกล่าว ได้แก่ หนังสือประถม ก. กา และหนังสือประถมมาลา หนังสือทั้งสอง เล่มนี้ใช้เป็นแบบเรียนจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเรียน ภาษาอังกฤษ วิชาแพทย์ วิชาเครื่องจักรกล วิชาต่อเรือกาปั่น วิชาเดินเรือกับพวกหมอสอน ศาสนา นอกจากนั้นยังได้มีการพิมพ์หนังสือไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจึงทาให้การศึกษา แพร่หลายไปอยู่ในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางขึ้น การศึกษาของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมาจนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการศึกษาชนิดไม่มีแบบแผน ไม่มีโรงเรียนสาหรับเรียนหนังสือ โดยเฉพาะ ไม่มีหลักสูตรว่าจะเรียนวิชาอะไรบ้าง ไม่มีการกาหนดเวลาเรียนและไม่มี การวัดผลการศึกษา เด็กชายที่อายุตั้งแต่ 7 – 8 ขวบขึ้นไป บิดามารดาจะพาไปฝากไว้กับ พระสงฆ์ ส่วนเด็กหญิงจะเรียนวิชาการบ้านการเรือนอันจาเป็นแก่กุลสตรี โดยศึกษาที่บ้าน ของตนหรือบิดามารดานาไปฝากไว้ที่ราชสานัก หรือในวังเจ้านาย หรือบ้านข้าราชการ ดังนั้นจะเห็นว่าการศึกษาของไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมายังไม่ได้ให้ความสาคัญของ การศึกษาระดับปฐมวัย แต่อย่างไรก็ตามจากประวัติการศึกษาอาจจะกล่าวได้ว่า การให้ การศึกษาในระดับปฐมวัยในระยะก่อนได้รับอิทธิพลทางตะวันตกนั้น มีลักษณะที่สาคัญ ดังนี้ 1. การให้การศึกษาระดับปฐมวัยสาหรับเชื้อพระวงศ์ เป็นการจัดการศึกษาให้แก่ พระโอรส พระธิดา และเชื้อพระวงศ์ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาในพระบรมมหาราชวัง โดย อาลักษณ์ หรือราชบัณฑิตมาสอน
  • 6. 110 2. การให้การศึกษาปฐมวัยสาหรับบุคคลที่บิดามารดามีฐานะดี บิดามารดาก็จะ จ้างให้ครูมาสอนที่บ้าน หรือเรียนที่บ้าน โดยมีบิดามารดาเป็นผู้สอนตามความสามารถ หรือตามอาชีพของตน 3. การให้การศึกษาระดับปฐมวัยสาหรับบุคคลทั่วไป การให้การศึกษาแก่เด็กที่ บิดามารดามีฐานะยากจนที่จาเป็นต้องออกไปประกอบอาชีพ หรือไม่มีความสามารถใน การอบรมสั่งสอน ก็จะนาเด็กชายไปฝากไว้ที่วัด เพื่อให้เรียนหนังสือและศึกษาพระธรรม วินัย และเมื่ออายุ 11 ขวบขึ้นไปก็จะบวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาเล่าเรียนอยู่ในวัด ส่วน เด็กหญิงส่วนใหญ่จะไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือนอกจากบิดามารดาพาไปฝากไว้ในวัง หรือ บ้านเจ้านาย เพื่อฝึกฝนการเป็นกุลสตรี และบางครอบครัวบิดามารดาก็จะสอนหรือ ถ่ายทอดงานอาชีพของครอบครัวให้ฝึกหัดภายในบ้าน 4. การศึกษาปฐมวัยของประเทศไทยระยะหลังได้รับอิทธิพลทางตะวันตก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. 2411 ทรงมุ่งพัฒนาประเทศชาติทางด้านการปกครอง การสังคม การคมนาคม และ การศึกษา เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ และทรง เล็งเห็นว่าการพัฒนาประเทศจาเป็นต้องใช้บุคคลที่มีวิชาความรู้มารับราชการ ดังนั้น การจัดการศึกษาของไทยจึงต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประเทศชาติ ใน พ.ศ.2411 ได้ทรงพระกรุณ าโปรดเกล้าให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นใน พระบรมมหาราชวัง โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูล) เป็นอาจารย์ใหญ่ จึงนับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่มีสถานที่เรียนซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะ มีฆราวาสเป็นครู และทา การสอนตามเวลาที่กาหนด มีการกาหนดวิชาที่เรียนได้แก่ วิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่น ๆ ซึ่งไม่เคยมีสอนโรงเรียนในสมัยเดิม และหลังจากนั้นก็ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งโรงเรียนต่าง ๆ อีกหลายประเภท ทั้งยังทรงตั้งโรงเรียน หลวงสาหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือโรงเรียนวัดมหรรณพารามในปี พ.ศ. 2427 และ ต่อมาเมื่อโรงเรียนหลวงได้แพร่หลายออกไปเป็นจานวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ประกาศตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น ใน ปี พ.ศ. 2430 เพื่อให้มีหน้าที่ดูแลและจัดการศึกษา โดยเฉพาะ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาในประเทศไทยได้ดาเนินงานอย่างเป็นระบบ และแพร่หลายกว้างขวางไปยังราษฎรได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาโดยการ ดูแลของรัฐนั้น เริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง
  • 7. 111 ประกอบกับพระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปหลายครั้ง ทั้งยังส่งราชการชั้นสูงไปศึกษาและดู งานยังประเทศต่าง ๆ จึงทาให้การจัดการศึกษาในระยะหลังได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ โดยเฉพาะทางซีกโลกตะวันตก อันได้แก่ ประเทศในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นช่วงระยะแรกที่เป็นการจัด การศึกษาในระบบโรงเรียน และมีการจัดทาโครงการศึกษาฉบับแรก พ.ศ. 2441 จนระยะ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยรัฐได้จัดทาแผนการศึกษาชาติ ขึ้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับการปรับแผนเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงขณะนี้เป็น ระยะของแผนพัฒนาการศึกษาชาติออกมาหลายฉบับ และออกเป็นพระราชบัญญัติ การศึกษาในที่สุด 5. การศึกษาปฐมวัยยุคเริ่มต้น การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคเริ่มต้นของประเทศไทยนั้น มีการจัดเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของโรงเรียน 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของสถานรับเลี้ยงเด็ก 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาให้จัดตั้งโรงเรียนราชกุมารขึ้นในปี พ.ศ. 2435 และในปี พ.ศ. 2436 จัดตั้งโรงเรียนราชกุมารีขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์ จึงนับเป็นสถานศึกษาในระดับ ปฐมวัยแห่งแรกที่มีการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ เนื่องจากมีการจัดชั้นเรียน วิชาเรียน วิธีเรียน และเวลาเรียนที่ชัดเจน ดังนี้ สถานศึกษา ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง ผู้สอน ได้แก่ ผู้มีความรู้สูง การจัดชั้นเรียน กาหนดไว้ 3 ชั้นคือ ชั้นที่ 1 หรือชั้นต้น หรือเทียบกับชั้นมูล ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 วิชาที่เรียน ใช้แบบเรียนเร็ว เล่ม 1 เล่ม 2 และเล่ม 3 ตามลาดับชั้นเรียน โดยครู สอนวิธีการเรียนอ่าน เขียน และเกี่ยวกับเลข วิธีสอน ใช้วิธีสอนแบบเรียนปนเล่น และสนับสนุนให้เด็กลงมือทากิจกรรมด้วย ตนเอง และฝึกความพร้อมทางกาย มากกว่า การฝึกด้านสติปัญญา เวลาเรียน กาหนดเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกตั้งแต่ 10.00 – 12.00 น. ระยะที่สอง เวลา 13.00 – 14.30 น. และระยะที่ 3 เวลา 15.00 – 16.00 น.
  • 8. 112 2. การศึกษาปฐมวัยในรูปแบบของสถานรับเลี้ยงเด็ก การศึกษาปฐมวัยในรูปแบบ สถานรับเลี้ยงเด็กได้เริ่มดาเนินการในพ.ศ.2433โดยพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ในรัชกาลที่ 5 เนื่องจากสาเหตุที่พระองค์สูญเสียพระราชธิดาที่มี พระชนมายุเพียง 6 ชันษา ดังนั้นพระอัครชายาเธอจึงมีการดาริที่จะรวบรวมเด็กกาพร้า เด็กยากจน เด็กจรจัดเหล่านี้เข้ามาเลี้ยง เพื่อให้การดูแลเรื่องอาหาร สุขภาพและการศึกษา เพื่อช่วยให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองดีต่อไป 2. สถานรับเลี้ยงเด็กจึงได้ก่อตั้งขึ้นที่ตาบลสวนมะลิ ถนนบารุงเมือง และเปิด ดาเนินการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้าให้เรียกชื่อว่า โรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอ โดยมีกรมหมื่นดารง ราชานุภาพ เป็นผู้อานวยการโรงเลี้ยงเด็กแห่งนี้เป็นคนแรก โรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายา เธอนี้ จะรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 11 ปี สาหรับเด็กหญิง และไม่เกิน 13 ปี สาหรับเพศชาย เด็กที่มีฐานะยากจนหรือเป็นกาพร้าหรือทุพพลภาพ ซึ่งในระยะแรกมีเด็ก รวมทั้งสิ้น 108 คน เป็นเด็กชาย 74 คน และเด็กหญิง 14 คน เด็กเหล่านี้จะได้รับการดูแล ในเรื่องการกินการนอน สุขภาพ ฝึกอบรมมารยาท และเมื่อเด็กมีอายุพอสมควรก็ให้เรียน หนังสือ ฝึกอาชีพและหางานให้ทาตามลาดับ ซึ่งบิดามารดาของเด็กเหล่านี้ไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอ เป็นการริเริ่มงานปฐมวัย ศึกษาในรูปของสถานเลี้ยงเด็กขึ้นเป็นครั้งแรกและเป็นการให้บริการแก่เด็กกลุ่มด้อยโอกาส ให้สามารถแยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตให้เป็นประชากรที่มีคุณค่าของ ประเทศชาติ ทั้งนี้เพราะสถานเลี้ยงเด็กแห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนและสมทบทุนทรัพย์จาก เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนได้รับการอบรมสั่งสอนการเอาใจใส่ดูแลจากครูอย่างเต็มที่ จนกล่าวได้ว่า เด็กที่เกิดและเติบโตในสมัยนั้นแม้จะเกิดในบรรดาบุตรข้าราชการ หรือผู้ดีมี สกุลบางคน ก็ยังไม่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยดีเท่าเด็กจากโรงเลี้ยงเด็ก จึงเป็นการประกันว่า เด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้นมีตาแหน่งหน้าที่ในราชการและมีฐานะดีในเวลาต่อมา 2. การศึกษาปฐมวัยในยุคมีระบบโรงเรียน การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุคที่มีระบบโรงเรียนมีการพัฒนาจัดระบบการศึกษา ปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมามาจากการศึกษาของต่างประเทศโดยเฉพาะ ประเทศในแถบยุโรป เพื่อให้เกิดความชัดเจนในยุคนี้สามารถได้แบ่งการจัดการศึกษาได้เป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • 9. 113 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในยุคนี้ ราศี ทองสวัสดิ์ (2539 : 71 – 74) ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาปฐมวัยใน ยุคมีระบบโรงเรียน ว่า เมื่อรัฐได้กาหนดโครงการศึกษาชาติ พ.ศ. 2441 ขึ้นมา ได้มีการจัด การศึกษาในระดับปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะคือการจัดการศึกษาปฐมวัยของรัฐ และการจัด การศึกษาปฐมวัยของเอกชน 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยของรัฐบาล จากหลักฐานและประวัติศาสตร์การจัด การศึกษาของไทยแสดงให้เห็นว่า ความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้พัฒนา เรื่อยมาจากการศึกษาในรูปของขั้นมูล หรือชั้นเตรียมประถมศึกษา และการจัดการศึกษา ปฐมวัยตามแนวคิดของเฟรอเบล และมอนเตสซอรี่ ได้เริ่มมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัยของไทย ตั้งแต่ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้เคยเสด็จประพาสทวีปยุโรป และโปรดให้มีผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจัดการศึกษาไปศึกษาดูงานต่างประเทศดังปรากฏในโครงการศึกษาชาติ พ.ศ. 2441 เป็นต้นมา โดยโครงการศึกษาชาติฉบับนี้ได้กาหนดให้จัดการศึกษาตั้งตีระดับมูลศึกษา ซึ่ง เทียบได้กับการศึกษาระดับปฐมวัย คาว่า “มูลศึกษา” หมายถึง การศึกษาขั้นต้นก่อนจะเข้า ไปเรียนในชั้นประถมศึกษา มีกาหนด 3 ปี โดยเข้าเรียนอายุระหว่าง 7 – 9 ปี เรียนจบแล้ว สามารถเรียนต่อชั้นประถมศึกษาได้และถ้าไม่เรียนต่อก็สามารถออกไปช่วยพ่อแม่ทามา หากินได้ สาหรับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในระยะนี้จัดเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) โรงเรียนบุรพบท หมายถึง โรงเรียนที่สอนเด็กให้มีความรู้ก่อนที่จะเข้า โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนนี้อาจจะแยกเป็นโรงเรียนต่างหาก หรือเป็นสาขาของ โรงเรียนประถมศึกษาก็ได้ และจะรับเด็กอายุ 7 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกเด็กให้มีความรู้ เพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา 2) โรงเรียน ก.ข. นโม หมายถึง โรงเรียนที่สอนให้เด็กสามารถเขียน อ่าน คิด คานวณเลขบ้าง ซึ่งจะสอนอยู่ตามวัดหรือตามบ้านบ้าง โรงเรียนชนิดนี้จัดสาหรับคนทั่วไป และไม่มีการกาหนดอายุ เมื่อเรียนรู้ไตรภาค คือ เขียน อ่าน และคิดเลขได้แล้ว จะเข้าเรียน ในระดับประถมศึกษา 3) โรงเรียนคินเดอร์กาเทน (Kindergarten) หมายถึง โรงเรียนที่มีการจัด การเรียนการสอนในระดับมูลศึกษาเช่นเดียวกับโรงเรียน ก.ข. นโม โรงเรียน ก.ข. นโม และ โรงเรียนคินเดอร์กาเทน รับเด็กเข้าเรียนโดยไม่จากัดอายุ และให้เรียนอ่านเขียน คิดเลข ตามวิธีเรียนอย่างเก่า และอาจเรียนตามบ้านหรือวัด
  • 10. 114 โรงเรียนประถมศึกษาแห่งใดไม่เปิดสอนชั้นมูลศึกษา จะเปิดสอนขั้นเตรียมขึ้นเพียง 1 ปี ก็ได้ สาหรับสอนเด็กให้มีความรู้พอเข้าเรียนในชั้นประถมอีกชั้นหนึ่งแทนมูลศึกษา 3 ปี ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อเตรียมเด็กขึ้นเรียนชั้นประถมศึกษา การสอนในขั้นมูลและชั้นประถมศึกษาจึง คล้ายคลึงหรือซ้ากันอยู่บ้าง 2. การศึกษาปฐมวัยของเอกชน ใน พ.ศ. 2454 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยได้จัดตั้ง แผนกอนุบาลขึ้นเป็นแห่งแรกและดาเนินการโดยนางสาวเอ็ดนา ซานาโคลด์ (Miss Edna Sana Cold) ซึ่งได้จัดการสอนตามแนวของเฟรอเบล โรงเรียนแห่งนี้มีครูไทยที่สาเร็จ การศึกษาอนุบาลศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้นาความรู้และแนวคิดมาปรับปรุง การจัดการศึกษาปฐมวัย ทั้งด้านการเรียนการสอน และวัสดุครุภัณฑ์ การรับเด็กเข้าเรียน ในโรงเรียนนี้ จะรับเด็กทั้งชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี เพื่อมาอบรมในเรื่อง ต่าง ๆ เช่น การสร้างสุขนิสัย มารยาทต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการฝึกความพร้อม ด้านสายตา และกล้ามเนื้อให้ประสานสัมพันธ์กัน โดยมีครูมาสอนวิชาศิลปะการร้องราทา เพลง และใช้วิธีการสอนตามแนวของเฟรอเบล ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 โรงเรียนราชินีก็ได้เปิดแผนกอนุบาลขึ้นซึ่งรับเด็กทั้งชายและ หญิงอายุระหว่าง 3 – 5 ปี และทาการสอนตามแนวของมอนเตสซอรี่และเฟรอเบล ต่อมา ปี พ.ศ. 2470 โรงเรียนมาร์แตรเดอี ได้เปิดแผนกอนุบาลรับเด็กนักเรียนชายหญิง โดยใช้ แนวการสอนตามแบบของเฟรอเบล และที่โรงเรียนแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนชั้น อนุบาลเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีโรงเรียนราษฎร์มากขึ้น การจัดสอนวิชาต่าง ๆ ก็สอนตามพอใจของแต่ละโรงเรียนไม่เป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน รัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ฉบับแรกของไทยขึ้นมาใช้ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2461 และในพระราชบัญญัตินี้แสดงให้เห็นว่าการปฐมวัยศึกษาในรูปอนุบาลได้เริ่มมีระบบ แนวปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะการระบุวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาในระดับนี้ คือ การมุ่งเลี้ยงดูเด็กอ่อน ๆ เป็นสาคัญ และสอนให้เด็กรู้อ่าน รู้เขียน รู้เรียน เรียนนับไป พลาง ๆ ในระหว่างเวลานั้นโรงเรียนเช่นนี้ครูอนุบาลในโรงเรียนไม่ต้องมีประกาศนียบัตรก็ ได้ ดังนั้นจะเห็นว่า การศึกษาระดับปฐมวัยในระยะเริ่มมีระบบโรงเรียนนั้นเน้นการสอน หนังสือเพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้ และคิดเลขเป็น เพื่อจะได้เข้าเรียนในโรงเรียน ประถมศึกษาต่อไป 2. การศึกษาปฐมวัยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • 11. 115 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย คณะราษฎร์ได้ ประกาศนโยบายการปกครองบริหารประเทศไว้ 6ประการและการศึกษาเป็นหลักสาคัญประการ หนึ่ง เมื่อมีการตั้งรัฐบาลขึ้นแล้วก็ได้จัดตั้งกรรมการศึกษาขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีเจ้าพระยา ธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานเพื่อทาหน้าที่จัดวางแผนการศึกษาชาติ และแผนปฏิบัติการ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคเริ่มต้น 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคก้าวหน้า 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคเริ่มต้น รัฐบาลในระยะต่อมาได้มีการจัดทาแผนการศึกษาชาติ อันเป็นแผนแม่บทของ การจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติ โดยมีการแก้ไขและพัฒนาตลอดมา และ หากจะศึกษาจากแผนการศึกษาทุกฉบับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาก็จะพบว่ารัฐ กาหนดให้มี การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับมูลศึกษา (Kindergarten) ตลอดมา แต่ขาด ระบบอย่างเด่นชัด โดยรัฐบาลให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาภาคบังคับมากกว่า การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย แต่อย่างไรก็ตามในแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 ได้ ระบุว่า เด็กอายุระหว่าง 6 – 7 ปี ควรจะเข้าเรียนในชั้นมูลและแผนการศึกษา พ.ศ.2494ได้ กาหนดว่า เด็กอายุ 4–7 ปี ควรจะเข้าเรียนในชั้นอนุบาลและระบุไว้ในแผนการศึกษาชาติว่า “การศึกษาชั้นอนุบาล ได้แก่ การอบรมกุลบุตรกุลธิดาก่อนการศึกษาบังคับ โดยมีหลักการ ให้การอบรมนิสัยและฝึกประสาทไว้ให้พร้อมที่จะรับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาต่อไป (พงศ์อินทร์ ศุขขจร. 2519 : 127) จากประวัติการศึกษาของไทยจึงกล่าวได้ว่า หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การจัดการศึกษาปฐมวัยได้รับความสนใจมากขึ้น นักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัด การศึกษาได้ตระหนักถึงความสาคัญของเด็กปฐมวัย และได้จัดการศึกษาให้แก่เด็กวัยนี้ อย่างกว้างขวาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 กระทรวงธรรมการได้เปิดโรงเรียนแห่งแรกของรัฐ ขึ้นในจังหวัดพระนคร ชื่อว่า โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ มีนางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา เป็นครูใหญ่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อทดลองการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย หรือ อนุบาล ศึกษา และเพื่อทดสอบความสนใจ ความเข้าใจของประชาชนในเรื่องการศึกษาในระดับ ดังกล่าว โดยรับนักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 3 ปี 6 เดือน – 6 ปี หรือจนเข้าเรียนใน ชั้นระดับประถมศึกษา บุคลากรที่มีความสาคัญในวงการการศึกษาปฐมวัยและเป็นผู้บุกเบิกในการจัด การศึกษาดังกล่าว ได้แก่ ม.ล. มานิจ ชุมสาย ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความสนใจและ
  • 12. 116 เชี่ยวชาญในเรื่องเด็กเล็กและการประถมศึกษา เป็นผู้วางโครงการก่อสร้างอาคารเรียน โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ให้การสนับสนุนและเผยแพร่เครื่องมือการสอนของมอนเตสซอรี่ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อการสอนในระดับปฐมวัย เพื่อช่วยให้การจัดการศึกษา ดาเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2485 กระทรวงธรรมการได้มีการเปิดโรงเรียนอนุบาลในส่วนภูมิภาค เป็นแห่งแรก คือ โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2486 เปิดที่จังหวัดชลบุรี ตาก พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี สงขลา พิษณุโลก และอุดรธานี การขยายโรงเรียน อนุบาลได้ทาติดต่อกันเรื่อยมาจนสามารถเปิดโรงเรียนอนุบาลได้ทั่วทุกจังหวัดใน พ.ศ. 2511 นอกจากนี้รัฐยังมีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนช่วยจัดการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็น การแบ่งเบาภาระของรัฐ ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลเอกชนจึงมีบทบาทสาคัญต่อการจัด การศึกษาในระดับปฐมวัยเป็นอย่างมาก และโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับอนุบาลส่วนใหญ่ จะยึดแบบอย่าง การจัดการศึกษาตามรูปแบบของโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ มีรายละเอียด ดังนี้ 1. สถานศึกษา มีสถานที่เรียนโดยเฉพาะมีการปลูกสร้างอาคารเรียนที่เหมาะสม กับเด็ก และปลูกสร้างอย่างถูกต้องตามหลักการ 2. จุดมุ่งหมาย การจัดการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายที่สาคัญดังนี้ 2.1 เพื่อเตรียมสภาพจิตใจของเด็กให้พร้อมที่จะรับการศึกษาในขั้นต่อไปหัดให้ ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการเรียน การเล่น และการประดิษฐ์ อบรมให้เป็นคน ช่างคิด ช่างทา ขยัน ไม่อยู่นิ่งเฉยและเป็นคนว่องไว กระฉับกระเฉง 2.2 เพื่ออบรมให้เด็กเป็นคนมีความสังเกต มีไหวพริบ เฉลียวฉลาด คิดหา เหตุผลให้เกิดความเข้าใจตนเอง มีความพากเพียร พยายามและอดทน ไม่จับจด 2.3 เพื่ออบรมให้เป็นคนพึ่งตนเอง สามารถทาหรือปฏิบัติอะไรได้ด้วยตนเอง เด็กในโรงเรียนอนุบาลจะต้องอบรมให้เด็กช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด เช่น หัดแต่งตัว ใส่ เสื้อผ้า นุ่งกางเกง หวีผม รับประทานอาหารเอง ฯลฯ และจะต้องทาให้เป็นเวลาด้วยโดยไม่ มีพี่เลี้ยงคอยตักเตือน หรือคอยทาให้ ครูเป็นแต่ผู้คอยดูแล ควบคุมอยู่แต่ห่าง ๆ เท่านั้น 2.4 เพื่อหัดมารยาทและศีลธรรมทั้งในส่วนตัวและปฏิบัติต่อสังคม และหัด มารยาทในการนั่ง นอน เดิน และรับประทานอาหาร ฯลฯ หัดให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ฝึกนิสัยให้เป็นคนมีศีลธรรมอันดี จิตใจเข้มแข็ง มีระเบียบ รักษาวินัย มีความสามัคคีซึ่งกัน และกัน
  • 13. 117 2.5 เพื่อปลูกฝังนิสัยทางสุขภาพอนามัย รู้จักระวังสุขภาพตนเอง และ รับประทานอาหารเป็นเวลา รู้จักรักษาร่างกายให้สะอาด และแข็งแรงอยู่เสมอ 2.6 เพื่ออบรมให้ร่าเริงต่อชีวิต มีการสอนร้องเพลง และการเล่นที่สนุกสนาน ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นนักสู้ซึ่งเต็มไปด้วยความร่าเริงเบิกบานและคิดก้าวหน้าเสมอ 3. หลักสูตร ได้มีการกาหนดวิชาที่เรียนและอัตราเวลาเรียนไว้อย่างชัดเจน 4. การจัดการเรียนการสอน สอนตามแนวคิดของเฟรอเบล โดยใช้วิธีการสอน แบบเรียนปนเล่น ส่งเสริมให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองและเหมาะสมกับประเพณี และวัฒนธรรมไทย ทั้งยังสามารถนาไปปฏิบัติในชีวิตประจาวันได้ 5. การกาหนดชั้นเรียนและเวลาเรียน การเรียนระดับนี้มีกาหนด 2 ปี คือ ชั้น อนุบาลปีที่ 1 และปีที่ 2 สาหรับระยะเวลาเรียนจะเริ่มตั้งแต่ 9.00 – 15.00 น. ซึ่งทาง โรงเรียนจะกาหนดตารางสอนประจาวัน เพื่อให้ครูสอนวิชาและจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อฝึก ให้เด็กสังเกต คิดโดยการใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น สนทนา เล่านิทาน ร้องเพลง วาดภาพ และ ส่งเสริมให้เด็กได้พักผ่อนด้วย และเนื่องจากเด็กมีช่วงความสนใจสั้น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ จึงใช้เวลาช่วง สั้น ๆ คือช่วงละประมาณ 15 นาที 6. ครูและบุคลากร เป็นผู้มีความรู้ เชี่ยวชาญในเรื่องการศึกษาในระดับปฐมวัยและ การประถมศึกษาเป็นอย่างดี และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสาหรับสอนเด็กและเป็น แบบอย่างที่ดีแก่เด็ก การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศนั้นได้รับความสนใจ จากบิดามารดาและผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ต่อมารัฐมีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนช่วยจัด การศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐโดยรัฐให้การช่วยเหลืออุดหนุน ทางด้านการเงิน และช่วยผลิตครูอบรมครูแก่โรงเรียนอนุบาลเอกชนด้วย ส่วนการจัด การเรียนการสอนนั้น ยึดแบบอย่างหลักสูตรและแนวการสอนเช่นเดียวกับโรงเรียนอนุบาล ละอออุทิศ ดังนั้นกล่าวได้ว่าโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ เป็นสถานศึกษาแห่งแรกที่มีการจัด การศึกษาระดับปฐมวัยอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาระดับนี้ ตามแนวคิดหลักสากล นับแต่นั้นเป็นต้นมาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยก็ได้รับ ความสนใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของชาติ ทั้งยังตระหนักถึง ความสาคัญของการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระดับนี้มากขึ้น 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยยุคก้าวหน้า เนื่องจากรัฐได้ตระหนักถึงความสาคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมากขึ้น จึงได้กาหนดนโยบายในแผนพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ดังเช่นแผนการศึกษาชาติ
  • 14. 118 พ.ศ. 2494 ได้กาหนดให้เด็กอายุ 3 – 7 ปี เข้าเรียนในระดับปฐมวัย และในแผนการศึกษา ชาติ พ.ศ. 2503 ได้ระบุและกล่าวถึงการศึกษาปฐมวัยไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นดังนี้ (อารี รังสินันท์. 2527 : 142) 1. การอนุบาลศึกษา เป็นระดับหนึ่งของการศึกษาและเป็นการศึกษาก่อนภาค บังคับ อาจจัดเป็นอนุบาลที่มี 2 ชั้น หรือ 3 ชั้น หรือชั้นเด็กเล็กในโรงเรียนประถมศึกษา 2. การอบรมเบื้องต้น เพื่อให้กุลบุตรกุลธิดา พร้อมที่จะรับการศึกษาในระดับ ประถมศึกษา 3. อายุ กาหนดอายุเด็กปฐมวัยระหว่าง 3 – 6 ปี แผนการศึกษาชาติฉบับนี้ ช่วยให้เห็นแนวปฏิบัติได้ชัดเจนขึ้น ต่อมาในแผนการ ศึกษาชาติ พ.ศ. 2520 – 2524 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาชาติใหม่และได้มี การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการปฐมวัยศึกษา ดังนี้ 1) การศึกษาก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาระดับหนึ่ง 2) รัฐพึงเร่งรัดและสนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยก่อนประถมศึกษารัฐจะ สนับสนุนให้ท้องถิ่นและภาคเอกชนจัดให้มาก รัฐจะจัดเป็นตัวอย่างและเพื่อการค้นคว้า วิจัยเท่านั้น 3) การศึกษาก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษา ภาคบังคับ เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้านพอที่จะรับการศึกษาต่อไป 4) การจัดการศึกษาก่อนประถมศึกษา อาจจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนหรือ การศึกษานอกโรงเรียน โดยอาจจัดเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์เด็กปฐมวัยหรืออาจ จัดเป็นชั้นเด็กเล็ก หรือโรงเรียนอนุบาลก็ได้ ทั้งยังสนับสนุนให้ท้องถิ่นและเอกชนจัด การศึกษาสาหรับเด็กปฐมวัยให้มากที่สุด โดยที่รัฐจะจัดเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งและเพื่อการ ค้นคว้าวิจัยอีกส่วนหนึ่ง จากนโยบายในแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2520 นี้เอง ทาให้การจัดการศึกษาระดับ ปฐมวัยมีความยืดหยุ่นและจัดหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพราะมีหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนได้ ให้ความสนใจ และดาเนินการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อช่วยพัฒนาเด็กในวัยนี้มากขึ้น ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่จัดการศึกษาจะมีวัตถุประสงค์และแนวการจัดที่แตกต่างกันไป หน่วยงานที่ให้การศึกษาระดับปฐมวัยอาจจัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามวัตถุประสงค์ใน การจัดได้เป็น 2 ประเภท 1. หน่วยงานที่ใช้การศึกษาและการพัฒนาเด็กในชั้นอนุบาลและเตรียม ประถมศึกษา เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาในแง่ที่มุ่งพัฒนาด้านวิชาการ เตรียมให้เด็กให้มี ความพร้อมทางด้านวิชาการที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งในรูปของโรงเรียน
  • 15. 119 อนุบาล 2 ปี หน่วยงานประเภทนี้ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลต่าง ๆ ทั้งที่ดาเนินการโดยรัฐและ เอกชน นอกจากนี้ยังมีโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการโรงเรียนวัดสอนเด็กก่อนเกณฑ์ โครงการจัดชั้นเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บังคับเรียนในโครงการฝึกหัดครูชนบท กรมการฝึกหัด ครู เป็นต้น 2. หน่วยงานที่มุ่งพัฒนาเด็กเล็กในด้านการส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดู เพื่อให้เด็กมี ความเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและจิตใจและเพื่อแบ่งเบาภาระของบิดามารดาหน่วยงาน ดังกล่าว ได้แก่ โครงการพัฒนาเด็กเล็กของกรมการพัฒนาชุมชน สถานรับเลี้ยงเด็ก กลางวันของสานักอนามัยกรุงเทพฯ และสถานสงเคราะห์เด็กของเอกชนภายใต้การควบคุม ของกรมประชาสงเคราะห์ 3. รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย จากนโยบายการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยในอดีตที่ผ่านมานั้น จะเห็นได้ว่าใน ระยะแรกรัฐได้มุ่งเน้นในเชิงปริมาณเป็นสาคัญ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเปิดขยายชั้น เด็กเล็กขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ แต่เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีจากัดจึงสนับสนุนให้เอกชนได้ เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐ ขณะเดียวกันในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 5 และต่อเนื่องถึงแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 6 รัฐได้ตระหนักถึงปัญหาอันเนื่องมาจาก ความไม่เสมอภาคทางการศึกษาระหว่างเขตเมืองกับในเขตชนบทจึงได้มุ่งเน้นที่จะให้มี การกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมทั้งในภูมิภาคและชนบท โดยมุ่งเน้นที่จะ พัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษามากกว่าเดิม ดังนั้น การจัดการศึกษาปฐมวัย จึงมี ลักษณะสาคัญพอสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ปัจจัยที่สาคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย 1. รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สาหรับในเอกสารนี้จะกล่าวถึงหน่วยงาน วัตถุประสงค์และรูปแบบของการจัด การศึกษาปฐมวัยของแต่ละหน่วย เพื่อให้เห็นความเหมือนความต่างของแต่ละหน่วยงาน พอสังเขป ดังนี้ 1. ทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้เปิดสอนชั้นเด็กเล็กและชั้นอนุบาลขึ้นในโรงเรียนสาธิต ของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ซึ่งบางแห่งเปิดรับเด็กอายุ 3 ปี โดยจะเรียนอนุบาล 3 ปี หรือ จะรับเด็กอายุ 4 ปี เพื่อเรียนชั้นอนุบาล 2 ปี และรับเด็ก 5 ปี เข้าเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 ปี
  • 16. 120 วัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และเพื่อ เตรียมความพร้อมให้เด็กสาหรับเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา รูปแบบ มีการจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกับโรงเรียนอนุบาลทั่วไปที่มุ่งเตรียม ความพร้อมสาหรับเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาและมีแนวการจัดประสบการณ์ที่ชัดเจน 2. กระทรวงศึกษาธิการ มี 5 หน่วยงาน ได้แก่ 2.1 สานักคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) ดาเนินการจัด การศึกษาระดับปฐมวัยศึกษาขึ้นในรูปแบบของโรงเรียนอนุบาลและชั้นเด็กเล็ก โดยเรียนชั้น อนุบาล 2 ปี ซึ่งจะรับนักเรียนอายุ 4 – 6 ปี ในบางแห่งจะเรียน 3 ปี โดยรับเด็กนักเรียน อายุ 3 – 6 ปี ส่วนโรงเรียนใดที่ไม่สามารถเปิดชั้นอนุบาลได้ ก็อาจจะเปิดชั้นเด็กเล็กโดยใช้ เวลาเรียน 1 ปี และรับนักเรียนอายุ 5 – 6 ปี เข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อแสวงหารูปแบบศูนย์เด็กปฐมวัยที่ถูกต้อง เผยแพร่การจัดตั้งศูนย์เด็กปฐมวัย ในทุกจังหวัดและเพื่อทดลอง วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย 2. เพื่อประสานงานกับหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ที่ได้จัดอบรมเลี้ยงดูเด็กให้ ถูกต้องตามหลักวิชาการ 3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่น เอกชน หน่วยงาน องค์การมูลนิธิต่าง ๆ จัดตั้ง ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนให้มากขึ้น รูปแบบ ในโรงเรียนอนุบาลในสังกัด สปช. จะเปิดสอนชั้นอนุบาล 2 ปี หรือ 3 ปี หรือเปิด สอนชั้นเด็กเล็กในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กก่อนที่จะเข้าเรียนในชั้น ประถมศึกษาโดยใช้เวลาเรียน 1 ปี 2.2 สานักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (สช.) เนื่องจากรัฐไม่สามารถจัด การศึกษาในระดับนี้ได้อย่างทั่วถึง จึงสนับสนุนให้เอกชนดาเนินการทั้งส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค โดยรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี เข้าเรียนชั้นอนุบาลหลักสูตร 3 ปี 2 ปี โรงเรียนเอกชนที่ เปิดสอนในระดับนี้เป็นจานวนมาก บางแห่งเปิดสอนมานาน และสามารถจัดดาเนินการจน มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม วัตถุประสงค์
  • 17. 121 สถานศึกษาของเอกชนที่เปิดสอนในระดับปฐมวัยมีวัตถุประสงค์คือ ตอบสนอง นโยบายของรัฐช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็ก และเพื่อเตรียมเด็กให้มี ความพร้อมสามารถที่จะเรียนในชั้นประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี รูปแบบ สถานศึกษาของเอกชนบางแห่งรับเด็กอายุ 3 – 4 ปี เข้าเรียนชั้นอนุบาล 3 ปี หรือ 2 ปี โดยบางแห่งเริ่มสอนหนังสือให้กับเด็ก บางแห่งก็เพียงเตรียมความพร้อมให้เด็ก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละโรงเรียน และความต้องการของผู้ปกครองที่ส่งเด็กเข้า เรียนในโรงเรียนนั้น ๆ 2.3 กรมสามัญศึกษา (สศ.) ได้ดาเนินการจัดการศึกษาสาหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และ การศึกษาพิเศษโดยเปิดชั้นอนุบาล 2 ปี และชั้นเด็กเล็ก 1 ปี ทั้งยังสนับสนุนให้เด็กพิการได้ เรียนร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนปกติอีกด้วย วัตถุประสงค์ 1) เพื่อช่วยเหลือแก่เด็กปฐมวัยที่มีความพิการในด้านต่าง ๆ เช่น ทางตา ทางหู เป็นต้น 2) จัดให้เป็นตัวอย่างและค้นคว้าทางวิชาการ รูปแบบ จัดให้มีโรงเรียนเฉพาะความพิการแต่ละประเภท และจัดในรูปแบบของการเรียน ร่วม คือ จัดชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ หรือในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล สถาน สงเคราะห์เด็กพิการ เป็นต้น 2.4 กรมศาสนา (ศน.) เริ่มโครงการสอนเด็กก่อนวัยเรียน โดยใช้วัดเป็นโรงเรียนสาหรับอบรมสั่งสอนเด็ก รับเด็กอายุประมาณ 4 ปี เข้าเรียน วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้พระได้ทาประโยชน์แก่สังคม โดยมีพี่เลี้ยงเป็นฆราวาสร่วมปฏิบัติงาน ใช้ วัดเป็นโรงเรียนสาหรับอบรมสั่งสอนเด็กและจัดขึ้นเพื่อการกุศลไม่เก็บค่าเล่าเรียน 2) เป็นการเตรียมเด็กให้มีความรู้พื้นฐานก่อนที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา รวมทั้งเป็นการปลูกฝังคุณธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามให้แก่เด็ก รูปแบบ
  • 18. 122 สอนเด็กก่อนเกณฑ์ที่จะเข้ารับการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายทั้งชายและหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 4 – 6 ปี โดยมีพระภิกษุสามเณรเป็นผู้สอน และมีพี่เลี้ยงที่เป็นฆราวาสร่วม ปฏิบัติงาน เพื่อคอยดูแลนักเรียน 2.5 กรมการฝึกหัดครู (กฝ.) วิทยาลัยครูต่าง ๆ จัดให้มีโรงเรียนสาธิตโดยรับเด็กตั้งแต่อายุ 3 ปี เข้าเรียนในชั้น เตรียมอนุบาล บางแห่งรับเด็กอายุประมาณ 4 ปี นอกจากนี้กรมการฝึกหัดครูยังได้จัดทา โครงการอบรมเด็กเล็กในโครงการฝึกหัดครูชนบท โดยได้ทดลองทาในชนบทที่มีฐานะทาง เศรษฐกิจยากจนและจัดทาที่โรงเรียนประถมศึกษาในโครงการ ส่วนมากจะมีเด็กอายุ ระหว่าง 3 – 6 ปี ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่แนวทางการอบรมเลี้ยงดูเด็กเล็กในชนบท และสนับสนุน ให้ชุมชนสามารถดาเนินงานต่อไปได้ วัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า และฝึกหัดการสอนหรือเป็นแหล่งฝึกงาน สาหรับนักศึกษาวิทยาลัยครูเรียนวิชาเอกอนุบาลศึกษา รวมทั้งเป็นการเตรียมสภาพเด็กให้ พร้อมที่จะช่วยเหลือตนเองได้ ปลูกฝังนิสัยอันดีงาม รูปแบบ มีการจัดการเรียนการสอนแบบเดียวกับโรงเรียนอนุบาลทั่วไปที่มุ่งเตรียม ความพร้อมสภาพเด็กให้พร้อมเพื่อเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา 1. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทยมี 3 หน่วยงาน ได้แก่ 3.1 กรมพัฒนาชุมชน กรมพัฒนาชุมชนดาเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในหมู่บ้านโดยรับเด็กเล็ก ในหมู่บ้าน โดยรับเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะตั้งอยู่ใน หมู่บ้านเขตพัฒนา โดยรับเด็กในหมู่บ้านเข้าเรียน และส่งเสริมประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การดาเนินงาน โดยมีกรมพัฒนาชุมชนให้การสนับสนุนและประสานงาน วัตถุประสงค์ กรมพัฒนาชุมชนมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ในเขต พัฒนาได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้ท้องถิ่นช่วยตัวเองและ ร่วมมือกันพัฒนาเด็ก โดยเผยแพร่วิทยาการแผนใหม่ไปสู่บิดามารดาผู้ปกครองเด็กและ ชุมชน รูปแบบ
  • 19. 123 รูปแบบ เน้นการอบรมเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีบุคลากรหรือผู้ดูแลเด็ก (ผดด.) เป็นผู้ปฏิบัติงาน โดยการคัดเลือกจากบุคคลในท้องถิ่นที่ศรัทธาในการเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งทางกรมพัฒนาชุมชนจะทาการฝึกอบรมให้ 3.2 กรมตารวจ โดยกองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน เป็นหน่วยงานที่ดาเนินการจัด การศึกษาในระดับนี้ โดยรับเด็กอายุ 2 ½ - 6 ปี ซึ่งจะจัดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะสม และได้มี การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ไปสอนครูพี่เลี้ยงเด็ก ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ให้มีความรู้ ความเข้าใจใน การอบรมเด็ก วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กในท้องถิ่นห่างไกลให้ได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่าง เหมาะสม และร่วมมือกันพัฒนาเด็กให้พร้อมที่จะเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป รูปแบบ รูปแบบที่จัดแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ ชั้นก่อนอนุบาล ซึ่งจะรับเด็กอายุประมาณ 2 ปี ครึ่ง – 3 ปี เข้าไว้ดูแลในสถานสงเคราะห์เด็ก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกองบัญชาการเขต และ ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา จะรับเด็กอายุประมาณ 4 – 5 ปี เข้าเรียน โดยเปิดชั้นเรียนใน โรงเรียนประถมศึกษาของกองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน มีผู้บังคับบัญชาแต่ละ ระดับเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายโรงเรียน อนุบาล ฝ่ายสาธารณสุขและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเลือกบุคคล ซึ่งอาจเป็นพระ พัฒนากร เกษตรตาบล พนักงานอนามัย ครู เป็นผู้นาโครงการเฉพาะพื้นที่ตามที่เห็น เหมาะสม โดยมี การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ไปสอนครู พี่เลี้ยงเด็ก ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้มี ความรู้ ความเข้าใจในการอบรมเด็ก 3.3 กรมประชาสงเคราะห์ หน่วยงานที่รับผิดชอบคือสถานเลี้ยงเด็กเล็กทั้งของเอกชนและของ กรมประชาสงเคราะห์ โดยกรมประชาสงเคราะห์จะรับเด็กกาพร้า เด็กจากครอบครัว ยากจน เด็กอนาถา พิการทางสมองและปัญญา เด็กชายที่กระทาความผิดตามคาสั่งศาล มีปัญหาความประพฤติ และเร่ร่อน ที่มีอายุระหว่างแรกเกิดถึง 18 ปี สถานสงเคราะห์ ประเภทนี้มีหลายแห่ง เช่น บ้าน ราชวิถี สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด เป็นต้น ส่วน สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนจะรับเด็กอายุระหว่างแรกเกิดจนถึง 6 ปี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้การสนับสนุนส่งเสริมและควบคุมสถานสงเคราะห์และสถานรับเลี้ยงเด็ก ของเอกชนให้ดาเนินงานด้วยดี มีประสิทธิภาพและถูกกฎหมาย
  • 20. 124 2. เป็นตัวอย่างแก่สถานเลี้ยงเด็กและตอบสนองความต้องการของประชาชนโดย การจัดตั้งสถานเลี้ยงเด็กของรัฐ และคิดค่าบริการถูกกว่าเอกชน รูปแบบ รูปแบบสถานเลี้ยงเด็กเอกชนจะรับเด็ก 2 ประเภท คือ ประเภทกลางวัน และ ประเภทประจาอายุระหว่างแรกเกิด – 6 ปี ส่วนหน่วยงานที่กรมประชาสงเคราะห์จัดขึ้นจะเป็นไปในรูปของสถานแรกรับเด็ก สถานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน ในรูปแบบของสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็ก 2. กระทรวงสาธารณสุข มี 2 หน่วยงานได้แก่ 4.1 กรมอนามัย กรมอนามัยจัดในรูปแบบของศูนย์โภชนาการ โดยรับเด็กอายุ ประมาณ 3 – 5 ปี เข้าเรียนจนอายุถึงเกณฑ์เข้าเรียนประถมศึกษาภาคบังคับโดยใช้อาคาร ของสถานีอนามัยอาเภอ หรือสร้างอาคารใหม่ใกล้ ๆ สถานีอนามัยอาเภอ วัตถุประสงค์ เพื่อที่จะให้เด็กในท้องถิ่น ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกวิธีและเผยแพร่ความรู้ทาง โภชนาการแก่บิดามารดาของเด็ก ตลอดจนช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจน รูปแบบ ศูนย์โภชนาการเด็กของกรมอนามัยแต่ละแห่งจะรับเด็กประมาณ 60 คน โดยเลือก ท้องถิ่นที่มีปัญหาทางโภชนาการมากมาดาเนินการก่อน และให้การดูแลในด้านสุขภาพ อนามัย ด้านอาหารและโภชนาการ และด้านการศึกษา 4.2 กรมการแพทย์ ให้บริการแก่เด็กระดับอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 14 ปี สาหรับ เด็กเล็กจะให้คาแนะนาในด้านการอบรมเลี้ยงดู การให้ความรู้ด้านจิตวิทยา และพัฒนาการ ด้านอารมณ์และจิตใจ วัตถุประสงค์ เพื่อให้บริการในการแก้ปัญหาทางอารมณ์จิตใจและพฤติกรรมของเด็กและ ประชาชนทั่วไป รวมทั้งการให้ความรู้ด้านจิตวิทยาและการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกวิธีแก่บิดา มารดาแก่ผู้ปกครอง รูปแบบ รูปแบบจัดเป็นบริการด้านสุขภาพจิต โดยในศูนย์สุขวิทยาจิตที่มีทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยให้บริการโดยมีหน่วยจิตเวชให้การตรวจรักษา 3. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มี 2 หน่วยงาน ได้แก่ 5.1 กรุงเทพมหานคร