SlideShare a Scribd company logo
1 of 22
Download to read offline
คำนำ<br />การศึกษาหาความรู้สามารถแสวงหาได้หลายช่องทางอาทิ จากหนังสือตำราเรียน, จากห้องสมุด, จากข่าวสารหนังสือพิพม์ของบ้านเมืองหรือนิตรยสาร ซี่งเป็นความรู้สำเร็จรูปทำให้ผู้สนใจสามารถค้นคว้าตามเรื่องราวที่สนใจได้อย่างมากมายและสะดวกสบายเช่นเดียวกันแหล่งความรู้จากการศึกษาดูงานนอกสถานที่ก็เป็นแหล่งความรู้อีกช่องทางที่มากด้วยมิติสัมผัส, การเห็นด้วยสายตาในสภาวะในขณะนั้น และอาจได้ความรู้ใหม่ๆที่เกิดใหม่ได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นความรู้สดใหม่ทันเหตุการขณะนั้นก็ได้ความรู้ดีมากเพื่อนำมาพัฒนาเป็นความรุ้ใหม่สู่ผู้อ่านและผู้ค้นคว้าต่อไป<br />ทางคณะเดินทางกลุ่มนักศึกษาบัณฑิตที่1 ระหัส 5402511401 ทุกๆคนรู้สึกได้ถึงการทุ่มเทในการพัฒนานักศึกษาทุกคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ และเต็มเปี่ยมไปด้วยจริยธรรมคุณธรรมอันดียิ่งขึ้นไป<br />คณะอาจารย์การจัดโครงการศึกษาดูงานในครั้งนี้ได้แก่<br />อาจารย์ ดร.พจนีย์  มั่นคง<br />ผศ. มาณี  พันธุ์เมือง<br />ผศ. ดร. ศิริวัฒน์  จีระดชประไพ<br />และอาจารย์ที่ร่วมการเดินทางครั้งนี้<br />ขอกล่าวคำขอบพระคุณอาจารย์ทุกๆท่านด้วยความซาบซึ้งใจเป็นอย่างมาก<br />นายชัชวาลย์  แสงมหาไชย<br />ประธานกลุ่ม5402511401<br /> <br />right57150โรงเรียนอนุบาลจันทบุรีได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก งานนี้เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของเหล่าชาวอนุบาล จึงสำเร็จได้ด้วยดี   ขอแสดงความยินดี  ยินดี<br />                      <br /> หนึ่งวันแห่งความสำเร็จ                 มาจากหลายวันแห่งความพยายาม                               หลายวันแห่งความพยายาม                  มาจากหลายเดือนแห่งความอดทน                       หลายเดือนแห่งความอดทน                      มาจากหลายปีแห่งความตั้งใจ                   หลายปีแห่งความตั้งใจจึงกลายเป็นความสำเร็จ                 กว่าจะมาถึงวันแห่งความสำเร็จได้มันต้องใช้            ความตั้งใจ +  ความอดทน + ความพยายาม =  ความสำเร็จ<br />สถานศึกษากับประชาคมอาเซียน<br />โรงเรียนอนุบาลจันทบุรีได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี   เขต 1 จัดตั้งเป็นศูนย์อาเซียน  ให้ดำเนินการขับเคลื่อนการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนเป็นแหล่งการเรียนรู้  ให้นักเรียนได้เปิดโลกกว้างสู่การเรียนรู้กับประเทศเพื่อนบ้าน  10   ประเทศ   เรียนรู้วัฒนธรรม ภาษา  การเมืองการปกครอง ให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย      ประชาคมอาเซียน  เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน  เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียนการเป็นประชาคมอาเซียน คือ การทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นquot;
ครอบครัวเดียวกันquot;
 ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น                                                                                                          <br />พิธีเปิดศูนย์อาเซียนโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี<br />                                       <br />     <br />     สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐคิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ<br />อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน quot;
ปฏิญญากรุงเทพquot;
 อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติหลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558<br />ประวัติ<br />██ ประเทศสมาชิกอาเซียน██ ผู้สังเกตการณ์อาเซียน██ ประเทศที่ขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน██ อาเซียนบวกสาม███ การประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก█████ การประชุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum)<br />สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ<br />สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค quot;
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้quot;
 และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม quot;
ปฏิญญากรุงเทพquot;
 ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร<br />ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรปเพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม<br />การขยายตัว<br />ดูบทความหลักที่ การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />ในปี พ.ศ. 2519 ปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมาประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งห่างจากวันที่บรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว<br />ต่อมา เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่เจ็ด ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538ไม่นานหลังจากนั้น ลาวและพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่แปดและเก้าตามลำดับ ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540ส่วนกัมพูชามีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่ถูกเลื่อนออกไปจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ จนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่สิบ หลังจากรัฐบาลกัมพูชามีความมั่นคงแล้ว<br />ในช่วงพุทธทศวรรษ 2530 สมาชิกอาเซียนได้มีประสบการณ์ทั้งในด้านการมีประเทศสมาชิกเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความพยายามในการรวบรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวไปอีกขึ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533มาเลเซียได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) และภูมิภาคเอเชียโดยรวมแต่ว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไป เพราะได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้<br />ใน พ.ศ. 2535 มีการลงนามใช้แผนอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในจังหวัดเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่า การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้<br />นอกเหนือจากความร่วมมือช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกแล้ว อาเซียนยังมีวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มีการลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2540ซึ่งเป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในภูมิภาค<br />หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง (อังกฤษ: Bali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรใฝ่หา<br />ผู้นำของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเธร์ โมฮัมหมัดแห่งมาเลเซีย ตระหนักถึงความจำเป็นในการรวมกลุ่มประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2540 อาเซียนได้เริ่มตั้งก่อตั้งองค์การหลายแห่งในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาเซียนบวกสามเป็นองค์การแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตามด้วยการประชุมเอเชียตะวันออกซึ่งมีอีกสามประเทศที่เข้าร่วมด้วย คือ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กลุ่มดังกล่าวมีแผนการที่เป็นรากฐานของประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งร่างขึ้นตามอย่างของประชาคมยุโรปซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพไปแล้ว หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบของนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการร่างกฎบัตรอาเซียนในอนาคต<br />ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มอาเซียนได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติซึ่งกลุ่มอาเซียนได้มอบสถานภาพ quot;
หุ้นส่วนการอภิปรายquot;
 ให้แก่สหประชาชาติเป็นการตอบแทนนอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 23 กรกฎาคมปีนั้นเอง โจเซ รามุส-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก ได้ลงนามในความต้องการในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ และคาดหวังว่าการได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์<br />ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกาในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพีคิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก<br />วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีการประเมินว่าความตกลงการค้าเสรีนี้จะเพิ่มจีดีพีใน 12 ประเทศขึ้นมากกว่า 48 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2543-2563ต้นปี พ.ศ. 2554 ติมอร์ตะวันออกวางแผนจะยื่นจดหมายขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกแก่สำนักเลขาธิการอาเซียนในอินโดนีเซีย เป็นประเทศสมาชิกลำดับที่สิบเอ็ดของอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซียแสดงท่าทีต้อนรับติมอร์ตะวันออกอย่างอบอุ่น<br />ภูมิศาสตร์<br />ธรณีสัณฐานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />ในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาข่ากาโบราซีในประเทศพม่า ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังคลาเทศและปาปัวนิวกินี<br />ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมันและพริกไทย<br />วัตถุประสงค์<br />จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้<br />ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด<br />รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ<br />จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ<br />ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ<br />ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง<br />ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ<br />ประชาคมเศรษฐกิจ<br />กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย quot;
หลักสามประการquot;
 ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ<br />เขตการค้าเสรี<br />รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียนซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542) <br />เขตการลงทุนร่วม<br />เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:<br />เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ<br />ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที<br />กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน<br />ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว<br />สร้างความโปร่งใส<br />ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน<br />ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม<br />การแลกเปลี่ยนบริการ<br />ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้านการแลกเปลี่ยนบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็นรายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว<br />ตลาดการบินเดียว<br />แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทางอากาศอาเซียน ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในปัจจุบัน และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมดเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิกในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาคและภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมด<br />ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน<br />อาเซียนได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ ทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดียข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกันผลดีของข้อตกลงนั้น คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วยไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน<br />บทสรุป<br />รูปแบบต่างๆที่ทางสถานศึกษาจัดแสดงไว้ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีในด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างมูลค่าทางการตลาดที่ได้ตามมาอาทิ มิตรไมตรีจิตแก่เป้าหมายผู้ค้าต่างประเทศ หรือผู้เข้าชมงานแสดงสินค้าที่เป็นชาวต่างประเทศในกลุ่มอาเซียน แน่ใจได้ว่าจะได้รับความร่วมมือและสนับสนุนอย่างดีมาก สืบเนื่องจากการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ส่วนทางผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาสามารถจัดนิทรรศการเพื่อให้ความรู้แก่สถานศึกษานั้นๆได้อีกต่อไป<br />แหล่งข้อมูลอ้างอิง<br />http://th.wikipedia.org/wiki<br />http://www.abcs.ac.th<br />
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน
รายงานอาเซียน

More Related Content

What's hot

โครงงานภาษาอังกฤษ
โครงงานภาษาอังกฤษโครงงานภาษาอังกฤษ
โครงงานภาษาอังกฤษSamrit Kung
 
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษากมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนDuangnapa Inyayot
 
กาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือกาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือWarodom Techasrisutee
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดA-NKR Ning
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)Napadon Yingyongsakul
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22Nongruk Srisukha
 
ไอเอสสส 5 บททท เสร จละ ใหม่ๆๆๆ ทำให้เสร็จ
ไอเอสสส 5 บททท เสร จละ ใหม่ๆๆๆ ทำให้เสร็จไอเอสสส 5 บททท เสร จละ ใหม่ๆๆๆ ทำให้เสร็จ
ไอเอสสส 5 บททท เสร จละ ใหม่ๆๆๆ ทำให้เสร็จSasiyada Promsuban
 
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ครูพิณทิพย์)
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ครูพิณทิพย์)เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ครูพิณทิพย์)
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ครูพิณทิพย์)Kornnicha Wonglai
 
พิธีปิดค่ายจริยธรรม
พิธีปิดค่ายจริยธรรมพิธีปิดค่ายจริยธรรม
พิธีปิดค่ายจริยธรรมniralai
 
ใบงานที่ 1 mind map
ใบงานที่ 1 mind mapใบงานที่ 1 mind map
ใบงานที่ 1 mind mapkrupornpana55
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...Suricha Phichan
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการsupaporn2516mw
 
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลงนิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลงSurapong Klamboot
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4wittawat_name
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนChittraporn Phalao
 

What's hot (20)

โครงงานภาษาอังกฤษ
โครงงานภาษาอังกฤษโครงงานภาษาอังกฤษ
โครงงานภาษาอังกฤษ
 
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
 
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
 
กาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือกาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือ
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
 
ไอเอสสส 5 บททท เสร จละ ใหม่ๆๆๆ ทำให้เสร็จ
ไอเอสสส 5 บททท เสร จละ ใหม่ๆๆๆ ทำให้เสร็จไอเอสสส 5 บททท เสร จละ ใหม่ๆๆๆ ทำให้เสร็จ
ไอเอสสส 5 บททท เสร จละ ใหม่ๆๆๆ ทำให้เสร็จ
 
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ครูพิณทิพย์)
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ครูพิณทิพย์)เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ครูพิณทิพย์)
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ครูพิณทิพย์)
 
การสำรวจทางทะเล
การสำรวจทางทะเลการสำรวจทางทะเล
การสำรวจทางทะเล
 
พิธีปิดค่ายจริยธรรม
พิธีปิดค่ายจริยธรรมพิธีปิดค่ายจริยธรรม
พิธีปิดค่ายจริยธรรม
 
ใบงานที่ 1 mind map
ใบงานที่ 1 mind mapใบงานที่ 1 mind map
ใบงานที่ 1 mind map
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
 
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลงนิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลง
 
แผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงานแผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงาน
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
 
โครงงานสังคม ม.ปลาย
โครงงานสังคม ม.ปลายโครงงานสังคม ม.ปลาย
โครงงานสังคม ม.ปลาย
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
 

Similar to รายงานอาเซียน

Ed building-asea ncommunity
Ed building-asea ncommunityEd building-asea ncommunity
Ed building-asea ncommunitysiripon25
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1Taraya Srivilas
 
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียนtomodachi7016
 
Asean - สมบูรณ์
Asean - สมบูรณ์Asean - สมบูรณ์
Asean - สมบูรณ์Kruthai Kidsdee
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานีTaraya Srivilas
 
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558T Ton Ton
 
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศKlangpanya
 
2010 Love Read @NATION
2010 Love Read @NATION2010 Love Read @NATION
2010 Love Read @NATIONninecomp
 
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)SAKANAN ANANTASOOK
 

Similar to รายงานอาเซียน (11)

Ed building-asea ncommunity
Ed building-asea ncommunityEd building-asea ncommunity
Ed building-asea ncommunity
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
 
Asean - สมบูรณ์
Asean - สมบูรณ์Asean - สมบูรณ์
Asean - สมบูรณ์
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานี
 
Asean m3
Asean m3Asean m3
Asean m3
 
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
 
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 
2010 Love Read @NATION
2010 Love Read @NATION2010 Love Read @NATION
2010 Love Read @NATION
 
History
HistoryHistory
History
 
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
 

More from Chucshwal's MK

Hiv health status questionnaire
Hiv health status questionnaireHiv health status questionnaire
Hiv health status questionnaireChucshwal's MK
 
ใบสั่งงาน
ใบสั่งงานใบสั่งงาน
ใบสั่งงานChucshwal's MK
 
Jd marketing executive
Jd   marketing executiveJd   marketing executive
Jd marketing executiveChucshwal's MK
 
แผนการตลาด1.2
แผนการตลาด1.2แผนการตลาด1.2
แผนการตลาด1.2Chucshwal's MK
 
แปลไทยโดยนายชัชวาลย์ แสงมหาไชย
แปลไทยโดยนายชัชวาลย์ แสงมหาไชยแปลไทยโดยนายชัชวาลย์ แสงมหาไชย
แปลไทยโดยนายชัชวาลย์ แสงมหาไชยChucshwal's MK
 
แบบฟอร์ม สง.1
แบบฟอร์ม สง.1แบบฟอร์ม สง.1
แบบฟอร์ม สง.1Chucshwal's MK
 
แผนบริหารงานฝ่ายวางแผน Georgeinter1
แผนบริหารงานฝ่ายวางแผน Georgeinter1แผนบริหารงานฝ่ายวางแผน Georgeinter1
แผนบริหารงานฝ่ายวางแผน Georgeinter1Chucshwal's MK
 
05oct11presentation.4 update.2
05oct11presentation.4 update.205oct11presentation.4 update.2
05oct11presentation.4 update.2Chucshwal's MK
 
บทที่ 8 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 8 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลบทที่ 8 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 8 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลChucshwal's MK
 
ผลสรุปความพึงพอใจ 53
ผลสรุปความพึงพอใจ 53ผลสรุปความพึงพอใจ 53
ผลสรุปความพึงพอใจ 53Chucshwal's MK
 

More from Chucshwal's MK (20)

Link1
Link1Link1
Link1
 
Doc4
Doc4Doc4
Doc4
 
W200753 53
W200753 53W200753 53
W200753 53
 
Hiv health status questionnaire
Hiv health status questionnaireHiv health status questionnaire
Hiv health status questionnaire
 
ถึงปชส100
ถึงปชส100ถึงปชส100
ถึงปชส100
 
ใบสั่งงาน
ใบสั่งงานใบสั่งงาน
ใบสั่งงาน
 
Jd stock control
Jd   stock controlJd   stock control
Jd stock control
 
Jd hr
Jd   hrJd   hr
Jd hr
 
Jd asst.director
Jd   asst.directorJd   asst.director
Jd asst.director
 
Jd marketing executive
Jd   marketing executiveJd   marketing executive
Jd marketing executive
 
แผนการตลาด1.2
แผนการตลาด1.2แผนการตลาด1.2
แผนการตลาด1.2
 
แปลไทยโดยนายชัชวาลย์ แสงมหาไชย
แปลไทยโดยนายชัชวาลย์ แสงมหาไชยแปลไทยโดยนายชัชวาลย์ แสงมหาไชย
แปลไทยโดยนายชัชวาลย์ แสงมหาไชย
 
แบบฟอร์ม สง.1
แบบฟอร์ม สง.1แบบฟอร์ม สง.1
แบบฟอร์ม สง.1
 
แผนบริหารงานฝ่ายวางแผน Georgeinter1
แผนบริหารงานฝ่ายวางแผน Georgeinter1แผนบริหารงานฝ่ายวางแผน Georgeinter1
แผนบริหารงานฝ่ายวางแผน Georgeinter1
 
Doc1 chucshwal
Doc1 chucshwalDoc1 chucshwal
Doc1 chucshwal
 
Doc3 chucshwal
Doc3 chucshwalDoc3 chucshwal
Doc3 chucshwal
 
Doc3 chucshwal
Doc3 chucshwalDoc3 chucshwal
Doc3 chucshwal
 
05oct11presentation.4 update.2
05oct11presentation.4 update.205oct11presentation.4 update.2
05oct11presentation.4 update.2
 
บทที่ 8 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 8 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลบทที่ 8 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 8 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล
 
ผลสรุปความพึงพอใจ 53
ผลสรุปความพึงพอใจ 53ผลสรุปความพึงพอใจ 53
ผลสรุปความพึงพอใจ 53
 

รายงานอาเซียน

  • 1. คำนำ<br />การศึกษาหาความรู้สามารถแสวงหาได้หลายช่องทางอาทิ จากหนังสือตำราเรียน, จากห้องสมุด, จากข่าวสารหนังสือพิพม์ของบ้านเมืองหรือนิตรยสาร ซี่งเป็นความรู้สำเร็จรูปทำให้ผู้สนใจสามารถค้นคว้าตามเรื่องราวที่สนใจได้อย่างมากมายและสะดวกสบายเช่นเดียวกันแหล่งความรู้จากการศึกษาดูงานนอกสถานที่ก็เป็นแหล่งความรู้อีกช่องทางที่มากด้วยมิติสัมผัส, การเห็นด้วยสายตาในสภาวะในขณะนั้น และอาจได้ความรู้ใหม่ๆที่เกิดใหม่ได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นความรู้สดใหม่ทันเหตุการขณะนั้นก็ได้ความรู้ดีมากเพื่อนำมาพัฒนาเป็นความรุ้ใหม่สู่ผู้อ่านและผู้ค้นคว้าต่อไป<br />ทางคณะเดินทางกลุ่มนักศึกษาบัณฑิตที่1 ระหัส 5402511401 ทุกๆคนรู้สึกได้ถึงการทุ่มเทในการพัฒนานักศึกษาทุกคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ และเต็มเปี่ยมไปด้วยจริยธรรมคุณธรรมอันดียิ่งขึ้นไป<br />คณะอาจารย์การจัดโครงการศึกษาดูงานในครั้งนี้ได้แก่<br />อาจารย์ ดร.พจนีย์ มั่นคง<br />ผศ. มาณี พันธุ์เมือง<br />ผศ. ดร. ศิริวัฒน์ จีระดชประไพ<br />และอาจารย์ที่ร่วมการเดินทางครั้งนี้<br />ขอกล่าวคำขอบพระคุณอาจารย์ทุกๆท่านด้วยความซาบซึ้งใจเป็นอย่างมาก<br />นายชัชวาลย์ แสงมหาไชย<br />ประธานกลุ่ม5402511401<br /> <br />right57150โรงเรียนอนุบาลจันทบุรีได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก งานนี้เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของเหล่าชาวอนุบาล จึงสำเร็จได้ด้วยดี   ขอแสดงความยินดี  ยินดี<br />                      <br /> หนึ่งวันแห่งความสำเร็จ                 มาจากหลายวันแห่งความพยายาม                               หลายวันแห่งความพยายาม                  มาจากหลายเดือนแห่งความอดทน                       หลายเดือนแห่งความอดทน                      มาจากหลายปีแห่งความตั้งใจ                   หลายปีแห่งความตั้งใจจึงกลายเป็นความสำเร็จ                 กว่าจะมาถึงวันแห่งความสำเร็จได้มันต้องใช้            ความตั้งใจ +  ความอดทน + ความพยายาม =  ความสำเร็จ<br />สถานศึกษากับประชาคมอาเซียน<br />โรงเรียนอนุบาลจันทบุรีได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต 1 จัดตั้งเป็นศูนย์อาเซียน  ให้ดำเนินการขับเคลื่อนการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนเป็นแหล่งการเรียนรู้  ให้นักเรียนได้เปิดโลกกว้างสู่การเรียนรู้กับประเทศเพื่อนบ้าน  10   ประเทศ   เรียนรู้วัฒนธรรม ภาษา  การเมืองการปกครอง ให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย      ประชาคมอาเซียน  เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน  เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียนการเป็นประชาคมอาเซียน คือ การทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นquot; ครอบครัวเดียวกันquot; ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น                                                                                                          <br />พิธีเปิดศูนย์อาเซียนโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี<br />                             <br />   <br />  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐคิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ<br />อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน quot; ปฏิญญากรุงเทพquot; อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติหลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558<br />ประวัติ<br />██ ประเทศสมาชิกอาเซียน██ ผู้สังเกตการณ์อาเซียน██ ประเทศที่ขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน██ อาเซียนบวกสาม███ การประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก█████ การประชุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum)<br />สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ<br />สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค quot; สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้quot; และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม quot; ปฏิญญากรุงเทพquot; ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร<br />ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรปเพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม<br />การขยายตัว<br />ดูบทความหลักที่ การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />ในปี พ.ศ. 2519 ปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมาประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งห่างจากวันที่บรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว<br />ต่อมา เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่เจ็ด ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538ไม่นานหลังจากนั้น ลาวและพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่แปดและเก้าตามลำดับ ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540ส่วนกัมพูชามีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่ถูกเลื่อนออกไปจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ จนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่สิบ หลังจากรัฐบาลกัมพูชามีความมั่นคงแล้ว<br />ในช่วงพุทธทศวรรษ 2530 สมาชิกอาเซียนได้มีประสบการณ์ทั้งในด้านการมีประเทศสมาชิกเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความพยายามในการรวบรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวไปอีกขึ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533มาเลเซียได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) และภูมิภาคเอเชียโดยรวมแต่ว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไป เพราะได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้<br />ใน พ.ศ. 2535 มีการลงนามใช้แผนอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในจังหวัดเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่า การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้<br />นอกเหนือจากความร่วมมือช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกแล้ว อาเซียนยังมีวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มีการลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2540ซึ่งเป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในภูมิภาค<br />หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง (อังกฤษ: Bali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรใฝ่หา<br />ผู้นำของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเธร์ โมฮัมหมัดแห่งมาเลเซีย ตระหนักถึงความจำเป็นในการรวมกลุ่มประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2540 อาเซียนได้เริ่มตั้งก่อตั้งองค์การหลายแห่งในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาเซียนบวกสามเป็นองค์การแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตามด้วยการประชุมเอเชียตะวันออกซึ่งมีอีกสามประเทศที่เข้าร่วมด้วย คือ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กลุ่มดังกล่าวมีแผนการที่เป็นรากฐานของประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งร่างขึ้นตามอย่างของประชาคมยุโรปซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพไปแล้ว หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบของนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการร่างกฎบัตรอาเซียนในอนาคต<br />ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มอาเซียนได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติซึ่งกลุ่มอาเซียนได้มอบสถานภาพ quot; หุ้นส่วนการอภิปรายquot; ให้แก่สหประชาชาติเป็นการตอบแทนนอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 23 กรกฎาคมปีนั้นเอง โจเซ รามุส-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก ได้ลงนามในความต้องการในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ และคาดหวังว่าการได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์<br />ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกาในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพีคิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก<br />วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีการประเมินว่าความตกลงการค้าเสรีนี้จะเพิ่มจีดีพีใน 12 ประเทศขึ้นมากกว่า 48 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2543-2563ต้นปี พ.ศ. 2554 ติมอร์ตะวันออกวางแผนจะยื่นจดหมายขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกแก่สำนักเลขาธิการอาเซียนในอินโดนีเซีย เป็นประเทศสมาชิกลำดับที่สิบเอ็ดของอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซียแสดงท่าทีต้อนรับติมอร์ตะวันออกอย่างอบอุ่น<br />ภูมิศาสตร์<br />ธรณีสัณฐานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />ในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาข่ากาโบราซีในประเทศพม่า ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังคลาเทศและปาปัวนิวกินี<br />ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมันและพริกไทย<br />วัตถุประสงค์<br />จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้<br />ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด<br />รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ<br />จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ<br />ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ<br />ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง<br />ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ<br />ประชาคมเศรษฐกิจ<br />กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย quot; หลักสามประการquot; ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ<br />เขตการค้าเสรี<br />รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียนซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542) <br />เขตการลงทุนร่วม<br />เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:<br />เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ<br />ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที<br />กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน<br />ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว<br />สร้างความโปร่งใส<br />ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน<br />ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม<br />การแลกเปลี่ยนบริการ<br />ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้านการแลกเปลี่ยนบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็นรายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว<br />ตลาดการบินเดียว<br />แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทางอากาศอาเซียน ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในปัจจุบัน และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมดเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิกในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาคและภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมด<br />ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน<br />อาเซียนได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ ทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดียข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกันผลดีของข้อตกลงนั้น คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วยไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน<br />บทสรุป<br />รูปแบบต่างๆที่ทางสถานศึกษาจัดแสดงไว้ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีในด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างมูลค่าทางการตลาดที่ได้ตามมาอาทิ มิตรไมตรีจิตแก่เป้าหมายผู้ค้าต่างประเทศ หรือผู้เข้าชมงานแสดงสินค้าที่เป็นชาวต่างประเทศในกลุ่มอาเซียน แน่ใจได้ว่าจะได้รับความร่วมมือและสนับสนุนอย่างดีมาก สืบเนื่องจากการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ส่วนทางผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาสามารถจัดนิทรรศการเพื่อให้ความรู้แก่สถานศึกษานั้นๆได้อีกต่อไป<br />แหล่งข้อมูลอ้างอิง<br />http://th.wikipedia.org/wiki<br />http://www.abcs.ac.th<br />